Breaking News

ธรรมาภิบาล ขอให้นายกฯใช้หลักบูรณาการร่วม “ศูนย์เตือนภัยและแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ


นายณัฏฐ์ ธีรณัฐสุภานนท์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ และประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต เปิดเผยเมื่อวันที่  26 สิงหาคม 2564 ว่า “ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณกว่าเจ็ดพันล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เพื่อใช้สำหรับการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยและแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ หากจะพิจารณาตามกฎหมายพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 แล้ว พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องดำเนินโครงการโดยก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับงบประมาณที่ใช้ ซึ่งวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวเพื่อให้มีหน่วยงานรองรับการเตือนภัยและแจ้งเหตุฉุกเฉินขึ้น แต่หากปราศจากความร่วมมือจากภาคประชาสังคมและประชาชนแล้วก็จะไม่ประสบความสำเร็จ เช่นประชาชนเข้าถึงสถานที่รองรับการแจ้งเหตุฉุกเฉินได้ยาก การใช้งบประมาณก็จะไม่เกิดหลักความคุ้มค่าและประโยชน์สูงสุด  
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการธรรมาภิบาลแห่งชาติ และประธานมูลนิธิธรรมาภิบาลและต่อต้านทุจริต กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับงบประมาณจาก กสทช.กว่าเจ็ดพันล้านบาทนี้ ไม่จัดอยู่ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ส่วนตนจะได้ส่งหนังสือถึง กสทช.เพื่อให้ดำเนินการด้านงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมายของ กสทช. 

โดยนายกรัฐมนตรีต้องคำนึงถึงองค์กรที่จะเป็นศูนย์กลางการเตือนภัยและแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติต้องเป็นองค์กรที่มีความพร้อมในการให้บริการประชาชนในทุกๆมิติ ไม่เป็นองค์กรที่เกิดวิกฤติศรัทธาจากประชาชน ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีความเป็นมิตร สามารถบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆที่จะบรรเทาเหตุหรือภัยที่เกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ในทีนที มีกฎหมายรองรับในการปฏิบัติงาน หากเป็นบางองค์กรก็จะไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ในทุกกรณี เช่นเกิดเหตุเพลิงไหม้ ควรจะให้เจ้าพนักงานตำรวจ หรือ เจ้าพนักงานดับเพลิง เข้าระงับเหตุ นายกรัฐมนตรีต้องให้เอกชนที่มีความพร้อมและประสิทธิภาพทางด้านอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาร่วมมือเพื่อรองรับและประมวลผลการรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน การจัดตั้งศูนย์เตือนภัยและแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ ก็จะเป็นการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ที่ถูกต้องและเป็นการบูรณาการร่วม 3 ฝ่าย อันได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารทางราชการ หรือ สขร.สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นองค์กรของรัฐที่ดำเนินการตามกรอบของกฎหมาย ซึ่งมี กสทช.เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรี ส่วนฝ่ายที่สามก็คือภาคเอกชนที่มาให้บริการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเตือนภัยและแจ้งเหตุฉุกเฉิน โดยรัฐเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณดังกล่าว มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานศูนย์เตือนภัยและรับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ หากเป็นเช่นนี้ได้ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุด สามารถบูรณาการร่วมในการใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมีประสิทธิผล และเป็นไปตามกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น