Breaking News

พื้นที่ต้นแบบ อพท. รายได้โตกว่า 20%“พิพัฒน์” ย้ำจุดยืนท่องเที่ยวพร้อมขึ้นแท่นกระทรวงเศรษฐกิจ

วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2562 เวลา 09.50 น. ณ โรงแรม Renaissance ราชประสงค์ กรุงเทพฯ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานพิธีเปิดงานประชุมสัมมนา DASTA Forum 2019 “มองมิติใหม่เพื่อการท่องเที่ยวไทยที่ยั่งยืน” ว่าสำหรับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. แม้เป็นหน่วยงานที่เพิ่งเข้ามาในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่การทำงาน อพท.ถือเป็นหน่วยงานสำคัญ เป็นหน่วยงานต้นน้ำที่เข้ามาเติมเต็มงานด้านการท่องเที่ยว ด้วยภารกิจการพัฒนาเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างมาก 
 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

“ปีนี้คาดการณ์ว่าจะมีรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 3.38 ล้านล้านบาท ดังนั้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลกำหนดเป้าหมายไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ต้องสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้มีสัดส่วน 22% ต่อจีดีพีในปี 2565 และเพิ่มขึ้นเป็น 30% ต่อจีดีพีในปี 2580 แต่ทุกวันนี้แม้รายได้จากการท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่กลับไม่มีความยั่งยืนเป็นภาพของการเติบโตเฉพาะฝั่ง Demand แต่ปัจจัยทางด้าน Supply กลับไม่มั่นคง “นายพิพัฒน์ กล่าว 
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงาน คือ ความปลอดภัย (Safety) ความสะอาด (Green) ความเป็นธรรม (Fair) และกระจายรายได้สู่ชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำ(Sustainability) 
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการ อพท. 
ด้านนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการ อพท. กล่าวว่า เพื่อเป็นการยืนยันการดำเนินงานและความสำเร็จของ อพท.ในงาน DASTA Forum 2019 ยังได้มีการจัดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานที่น่าสนใจ อาทิเช่น การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งได้ใช้ “ใจ” มารวมเป็นพลังในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ CBT Thailand มีชุมชนต้นแบบในการพัฒนามากกว่า 40 ชุมชน การพัฒนาการท่องเที่ยวภายใต้เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ GSTC การพัฒนาความร่วมมือการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้โครงการ “สี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้าง” และการส่งเสริมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ชุมชนในพื้นที่พิเศษ

ทั้งนี้จากข้อมูลปี 2562 ชุมชนที่เข้าไปพัฒนามีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น 20.14% และผ่านเกณฑ์ระดับความอยู่ดีมีสุขที่กำหนด 87.59% ทั้งนี้ ถือเป็นการเปิดมุมมองการพัฒนารอบด้านของ อพท.ตลอด 16 ปีที่ผ่านมา ทั้งเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยกระบวนการทำงานที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้เกิดความยั่งยืนและสร้างความสุขที่แท้จริงให้กับชุมชนในพื้นที่พิเศษและนักท่องเที่ยวในอนาคตต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น