Breaking News

ตะลุยเที่ยวสามบุรีหลากวิถี หลายเรื่องราว

จังหวัดสุพรรณบุรี,กาญจนบุรี และราชบุรี อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศมีแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำแคว ไหลผ่านมีเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ์ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น “ดินแดนมหัศจรรย์แห่งสายน้ำและขุนเขา” ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเหมาะแก่การเกษตรกรรม หากพิจารณาในมุมมองของโครงข่ายเชื่อมโยงการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ ในยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาภาคกลางในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พบว่า เส้นทางซึ่งเชื่อมโยงสุพรรณบุรี -กาญจนบุรี และราชบุรี เป็นส่วนหนึ่งของ “เส้นทางโบราณในยุคทวารวดี” เป็นเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในกลุ่มประวัติศาสตร์และศาสนาของโครงข่ายกาญจนบุรี-สุพรรณบุรี-พระนครศรีอยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี-ชัยนาท-ลพบุรี-สระบุรี-นครปฐม-ราชบุรีและเพชรบุรี 

สถานที่ท่องเที่ยวในสามจังหวัดนี้ลุงหนวดบอกได้เลยว่า มีเยอะแยะมากมาย ไปจังหวัดละ2วัน ก็เที่ยวชมไม่หมดเพราะเวลาไม่พอแน่นอนครับซึ่งมีทั้งเส้นทางสายทวาราวดี ,ศิลปะวัฒนธรรม,วัดวาอาราม,วิถีชุมชนพื้นบ้าน,อาหารโบราณทั้งคาวหวานตลอดจนสวนเกษตรเรื่องของสินค้าชุมชนหรือโอท็อปส์และที่แบบโฮมสเตย์และอาชีพเกี่ยวกับการจักสานทอผ้า ฯลฯ 

สำหรับทริปนี้ลุงหนวดขอนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและกิจกรรมบางกิจกรรม โดยทางองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เขต 7(อพท.)ร่วมกับ บริษัท แกรนด์เทค จำกัด นำคณะอาจารณ์ จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จากส่วนกลาง พร้อมสื่อมวลชน เดินทางมาสำรวจและศึกษาเส้นทางท่องเที่ยว 3 จังหวัด ในโครงการกิจกรรมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เชื่อมโยงจังหวัดสุพรรณบุรีตามโปรแกรมทดลองเที่ยว “เส้นทางสามบุรี” หลากวิถี หลายเรื่องราว
จุดแรกที่แวะไปเยือนคือ ชุมชนเขาพระตำบลอู่ทอง อ.อู่ทอง สุพรรณบุรี ไปดูศูนย์การเรียนรู้การทำกาละแมตำนานดิน ดูการสาธิตการทำกาละแมโบราณ จากวัตถุดิบท้องถิ่น เคล็ดลับ อยู่ที่การใช้ข้าวเหนียวแท้ๆ ไม่ใช่แป้งข้าวเหนียว ผสมผสานกับสมุนไพรท้องถิ่น ส่วนต้นตำนานดินใช้ได้หมดทั้งใบ ลำต้น ผสานรสหวานด้วย เกสรผึ้ง ที่นำมาเลี้ยงไว้เอง ใช้กำลังจากชาวบ้านช่วยกันกวน ไม่ให้ไหม้ติดกระทะ ใครจะทดลองกวน หรือ ชิมลิ้มรสชาติความหอมหวานนุ่มของกาละแมร้อนๆ เชิญได้เลย รับรองอร่อยประทับใจ



สาธิตการทำกาละแมตำนานดิน
ชุมชนเขาพระตำบลอู่ทอง อ.อู่ทอง สุพรรณบุรี                                 
จากนั้นไปเยือนศูนย์การเรียนรู้ตุ๊กตาหัวโตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแจงพัฒนาที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆกัน ที่นี่เน้นให้ผู้มาเยือนร่วมกิจกรรมทดลองทำยาหม่องสมุนไพร มี“ป้าต้อย”หรือเครือวัลย์ คล้ายจินดา ที่อยู่ใกล้ ๆกัน ที่นี่เน้นให้ผู้มาเยือนร่วมกิจกรรมทดลองทำยาหม่องสมุนไพร มี “ป้าต้อย”หรือเครือวัลย์ คล้ายจินดา เจ้าของและเป็นวิทยากรเองโดยเตรียมส่วนผสมสมุนไพรทั้งหมดนำมาสาธิตการทำยาดมให้ชม จุดเด่นอยู่ที่ ฝาปิดบรรจุภัณฑ์ทำเป็นรูปตุ๊กตาหัวโต พร้อมนำมาให้ผู้มาเยือนได้แสดงฝีมือระบายสี ตามจินตนาการเป็นผลงานชิ้นเดียวในโลกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ นักท่องเที่ยวจะได้ประกวดประชันฝีมือกันพอหอมปากหอมคอ 



-  ป้าต้อย”หรือเครือวัลย์ คล้ายจินดา 


ศูนย์การเรียนรู้ตุ๊กตาหัวโตกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต้นแจงพัฒนา
ไม่ไกลจากที่นั่นพวกเราแวะวัดเขาพระศรีสรรเพชญารามชื่อเดิมคือวัดเขาพระในบริเวณวัดมีบรรยากาศที่ร่มรื่นเพราะประกอบไปด้วยต้นไม้ใหญ่แผ่กิ่งก้านให้ร่มเงา นอกจากนั้นยังมีเนินเขาไม่สูงนักมีบันไดปูนสามารถเดินขึ้นไปจนถึงบนยอดเขาได้ตรงเพิงผาบริเวณไหล่เขาด้านทิศตะวันออกมีพระพุทธไสยาสน์ หลวงพ่อสังฆ์ ประดิษฐานอยู่ เป็นที่เคารพสักการะของชาวชุมชนอู่ทอง ส่วนบนยอดเขามีมณฑปซึ่งภายในประดิษฐานรอยพระพุทธบาทหินทรายแกะสลัก และเจดีย์โบราณก่ออิฐสอปูน 


วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม ชื่อเดิมคือ วัดเขาพระ 
สถานที่สำคัญอีกสถานที่หนึ่งคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง แหล่งโบราณคดีที่มีการจำลองแผนที่ชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดีโดยเมืองอู่ทองเป็นหนึ่งในเมืองโบราณสำคัญมีคูน้ำคั่นกลางภายในเต็มไปด้วยร่องรอยหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เป็นเมืองท่าศูนย์กลางการค้าและเป็นหล่งวัตถุโบราณที่สำคัญอาทิเช่นลูกปัดหิน,เหรียญกษาปณ์โรมัน,เครื่องทอง,พระพุทธรูป,ศิวลึงค์ ฯลฯ 





พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง
นักโบราณคดีเชื่อกันว่าอู่ทองมีความสัมพันธ์กับดินแดน"สุวรรณภูมิ"ศูนย์กลางการค้าของโลกยุคโบราณเมื่อประมาณ2,500ปีมาแล้วและยังเป็นจุดที่พระพุทธศาสนาเดินทางเข้ามาเผยแพร่เป็นแห่งแรกในประเทศไทยจากสุพรรณบุรีเรามุ่งหน้าไปยังจังหวัดกาญจน์บุรีตรงมายังศูนย์ศึกษาและเรียนรู้นวัตกรรมเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรอินทรีย์ ศูนย์ศึกษาแบบครบวงจรนั่นคือชุมชนบ้านหนองทราย ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน เป็นชุมชนต้นแบบกลุ่มเกษตรกรดีเด่น ที่ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ เพื่อพัฒนาเกษตรที่ยั่งยืน และมั่นคง








สาธิตการทำฟริกแกง

การแสดงเพลงเหย่ย เพลงอีฉ่อยของชุมชนบ้านหนองทราย  
 ชุมชนบ้านหนองทราย 
พวกเราได้นั่งรถลากตระเวณไปตามฐานท่องเที่ยวต่างๆภายในชุมชนบ้านหนองทราย และชมหน้าตาของบ้านพักแบบโฮมสเตย์ ที่มีไว้ให้บริการกับผู้มาเยือน ชมการทำพริกแกงสูตรเด็ดเฉพาะตัวของบ้านหนองทรายที่หอมและเข้มข้นถึงเครื่อง แวะ ชิม ทดลองทำขนมนางเล็ด / การทอผ้า ทอพรมเช็ดเท้า ชมการสาธิตและทดลองสานภาชนะด้วยเส้นพลาสติคสีสวย เรียนรู้การทำไอศกรีมจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ เรียนรู้ระบบการจัดการข้าว การแปรรูปข้าว และชมพระอาทิตย์ตก ณ แปลงนาหญ้าแพงโกล่าหญ้าคุณภาพสูง ที่ใช้เลี้ยงม้า ก่อนจะไปรับประทานอาหารเย็น พร้อมชมการแสดงเพลงเหย่ย เพลงอีฉ่อย เพลงกลองยาวที่คุ้นหู
การแสดงเพลงเหย่ย ชุมชนบ้านหนองทราย  
พระอาทิตย์ตก ณ แปลงนาหญ้าแพงโกล่าหญ้าคุณภาพสูง
วันที่สอง คณะเรามุ่งหน้าไปเยือน บ้านห้วยกระบอก ชุมชนชาวจีนแคะ หรือ ฮากกาดินแดนที่ตั้งอยู่บนรอยต่อของ 3จังหวัดเช่านราชบุรี,นครปฐม,กาญจนบุรีตั้งอยู่ในต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ที่นี่เป็นชุมชนชาวจีนแคะที่อพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่นับร้อยปี ในอดีตชุมชนแห่งนี้เคยเป็นศูนย์กลางการค้า ที่ประชาชนทั้ง 3 จังหวัดเดินทางมาค้าขายกันทื่นี่ ตลาดห้วยกระบอกแห่งนี้จึงเป็นศูนย์กลางของชาวจีนแคะที่มีอายุยาวนานและใหญ่ที่สุดใประเทศไทยเลยทีเดียวและยังมีการทำขนมหว่องฟ้ามู่ปั้น ขนมโบราณของชาวจีนแคะจำหน่ายแก่ผู้มาเยือน
ศาลเจ้าซั้มซันเกว็ตหวองศูนย์รวมจิตใจของชาวจีนแคระภายในชุมชนบ้านห้วยกระบอก



            กิจกรรมเขียนอักษรจีนโบราณภายในชุมชนบ้านห้วยกระบอกของชาวจีนแคะ

สาธิตการทำขนมหว่องฟ้ามู่ปั้น ขนมโบราณของชาวจีนแคะ
ร้านอาหารจันทร์เจริญร้านเก่าแก่ของชาวจีนแคะ ที่บ้านห้วยกระบอก 
ผัดก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่สไตล์จีนแคะ
ณ.ที่แห่งนี้มีศาลเจ้าพ่อสามภูเขาศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมจิตใจของชาวชุมชนจีนแคะหรือฮากกาซึ่งปัจจุบันได้รับการบูรณะปรับปรุงใหม่จนดูใหญ่โตอลังการทันสมัยมากหากใครได้มาเที่ยวที่นี่ขอแนะนำให้ไปลิ้มลองอาหารตามแบบฉบับจีนแคะแท้ๆหลากหลายเมนูสูตรดั้งเดิมรสชาติอร่อยกันที่ร้านจันทร์เจริญในราคาที่บอกได้เลยว่าไม่แพงและคุ้มค่าที่ได้ลิ้มลองตั้งอยู่ตรงข้ามกับศาลเจ้า 
ปิดท้ายก่อนเดินทางกลับขอแนะนำให้แวะ“กาดวิถีชุมชนคูบัว”หรือภาษาภาคกลางจะเรียกกันว่าตลาดวิถีชุมชนคูบัว”ตั้งอยู่ภายในวัดโขลงสุวรรณคีรีต.คูบัวอ.เมืองจ.ราชบุรีที่สร้างขึ้นด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวไทยวนในพื้นที่เสน่ห์ของกาดแห่งนี้คือวิถีชีวิตชุมชนชาวไทย-ยวนที่มีอาหารของกินของใช้ของพื้นบ้านขายโดยชาวบ้านในตำบลคูบัวและย้อนเวลาหาอดีตที่”เมืองโบราณคูบัว”สมัยทวาราวดีประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว




โบราณสถานสำคัญในชุมชนบ้านคูบัว
พิพิธภัณฑ์สถานบ้านคูบัว
                                                            ภายใน
พิพิธภัณฑ์สถานบ้านคูบัว
ตลาดวิถีชุมชนบ้านคูบัว


                                                                   ตลาดวิถีชุมชนบ้านคูบัว








เมืองคูบัวเป็นเมืองท่าและตลาดการค้าที่สำคัญเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางความรุ่งเรืองของอาณาจักรทวาราวดีและการทอผ้าซิ่นตีนจกที่มีลายเป็นเอกลักษณ์ทุกวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์จะมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาสัมผัสกับบรรยากาศแบบวิถีชุมชนของชาวบ้านกันมากมายมานั่งทานอาหารหลากหลายชนิดพร้อมชมการแสดงของชาวไทยวนที่สวยสดงดงาม หาดูที่ไหนไม่ได้แล้ว. 
ลุงหนวด  เรื่องและภาพ

ไม่มีความคิดเห็น