สสท. จัดเวที สะท้อนความเห็น ใช้กลไกสหกรณ์แก้ ปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูที่รัฐบาลอยากแก้ไข พร้อมเชิญ รมช. กระทรวงศึกษาธิการ รับฟัง
นายปรเมศวร์ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จัดขึ้น เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูและการใช้ระบบสหกรณ์ในการแก้ไขปัญหาหนี้และให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้มีความเข้าใจในการใช้หลักการวิธีการสหกรณ์ไปแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ได้อย่างสอดคล้องกับเป้าหมายหลักที่ทางภาครัฐต้องการ ไม่ว่าจะเป็น 1. การลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สอดคล้องกับสินเชื่อที่มีอัตราความเสี่ยงต่ำ 2. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้ต่ำลง 3. จัดสรรผลกำไรมาเพิ่มเงินเฉลี่ยคืนเงินกู้ให้มากขึ้น 4. ปรับลดการส่งรายเดือน และ 5. ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อจัดสรรสวัสดิการให้แก่สมาชิก สร้างระบบพัฒนาและดูแลสมาชิก ให้ความรู้วางแผนทางด้านการเงินเพื่อสร้างอาชีพเสริม ลดรายจ่าย เพิ่มการออมและไม่ก่อหนี้เพิ่ม และ นำเสนอสรุปประเด็น การประชุม ใน 7 หัวข้อ ประกอบด้วย 1.ความร่วมมือแจ้งข้อมูลรายชื่อครูหรือลูกหนี้กับบริษัทเครดิตแห่งชาติหรือเครดิตบูโร 2. ตั้งสหกรณ์กลางภูมิภาคละ 1 แห่งเป็นสหกรณ์ต้นแบบ 3. ตั้งสถานีแก้หนี้ประจำจังหวัด 4.แก้ พระราชบัญญัติ สหกรณ์ มาตรา ( 42/1 ) 5.แก้ระเบียบกระทรวงการคลัง 6.ธนาคารขายหนี้เสียให้รัฐบาลบริหาร และ 7. งดให้กู้บำเหน็จตกทอด
“ กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ผู้แทนคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางศึกษา และผู้แทนสหกรณ์ออมทรัพย์ครู และมีมติร่วมกันเห็นควรให้มีการจัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันในหัวข้อ "ปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูที่รัฐบาลอยากแก้ไข : จะสำเร็จได้ด้วยระบบสหกรณ์" เพื่อวางแนวทางการช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดปัญหาหนี้สินข้าราชการครูอย่างเป็นระบบและยั่งยืน สันนิบาตสหกรณ์ฯ ได้ ตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาหนี้สินของครูซึ่งได้กลายเป็นวิกฤตสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของครูทั่วประเทศ ครูจำนวนมากมีภาระหนี้สินสะสมจากแหล่งต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้สามารถวางแผนทางการเงินให้มีภูมิคุ้มกันทางการเงินต่อไปและเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าปัญหาหนี้สินของข้าราชการครูที่รัฐบาลอยากแก้ไข จะสำเร็จได้ด้วยระบบสหกรณ์” นายปรเมศวร์ กล่าว.
ไม่มีความคิดเห็น