Breaking News

“สุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์” นายก PUBAT นำทีมกรรมการคนรุ่นใหม่ไฟแรง โชว์สุดยอดผลงาน ปฏิวัติวงการหนังสือไทยให้กลับมาคึกคัก ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ซบเซา พร้อมติดอาวุธผู้ประกอบการ ปูทางสู่ตลาดต่างประเทศ

สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) นำโดย นายสุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์ นายกสมาคมฯ พร้อมทีมคณะกรรมการคนรุ่นใหม่มากความสามารถ โชว์สุดยอดผลงานปฏิวัติอุตสาหกรรมหนังสือไทย ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ ติดอาวุธสำนักพิมพ์ สร้างภาพลักษณ์ใหม่ ทันสมัย ยกระดับผู้ประกอบการไทย ขยายโอกาสสู่ตลาดต่างประเทศ พร้อมดันไทยสู่ “ฮับหนังสือโลก”


ในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ทั่วโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภค วงการหนังสือไทยกลับเติบโตอย่างโดดเด่นภายใต้การนำของ “สุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์” นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) และคณะกรรมการคนรุ่นใหม่ไฟแรง เปี่ยมล้นด้วยความสามารถ นำพาอุตสาหกรรมหนังสือไทยให้ยืนหยัด ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ สร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่ทันสมัย และขยายโอกาสสู่ตลาดต่างประเทศจนประสบความสำเร็จอย่างงดงาม 

สุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์” นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) เปิดใจถึงภารกิจในการขับเคลื่อน PUBAT ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาว่า หากถามถึงความสำเร็จในวันนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากผมเพียงคนเดียว แต่เกิดจากการทำงานร่วมกันแบบทีมเวิร์ค ของคณะกรรมการทุกคน ซึ่งต้องยอมรับว่าคณะกรรมการชุดนี้ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์  มีทักษะหลากหลาย ครบเครื่องทุกด้าน โดยกว่า 70% เป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีอายุระหว่าง 30-40 ปี ผนวกกับคณะกรรมการที่มีคุณวุฒิ มีประสบการณ์ ทำให้สามารถสร้างสรรค์และบริหารจัดการจนประสบความสำเร็จในวันนี้ 3 ผลงานความสำเร็จที่โดดเด่น (Master Piece)

1. การยืนหยัดท่ามกลางวิกฤติและการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดความสำเร็จที่โดดเด่นประการแรกคือ ความสามารถในการพาอุตสาหกรรมหนังสือไทยให้ยืนหยัดและเติบโตได้แม้ในภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย “สุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์” เล็งเห็นความสำคัญของการปรับตัวและ "ติดอาวุธ" ให้ผู้ประกอบการในวงการหนังสือ ด้วยการจัดอบรมเสริมความรู้หลากหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องการใช้สื่อออนไลน์และแพลตฟอร์มใหม่ๆ ซึ่งที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้จัดอบรมการใช้แพลตฟอร์มต่างๆ เช่น TikTok และแพลตฟอร์มออนไลน์อื่นๆ โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาเป็นมีเดียพาร์ทเนอร์ ช่วยให้สมาชิกปรับตัวกับการตลาดรูปแบบใหม่ ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีมากรวมไปถึงการขยายการจัดงานหนังสือสู่เมืองรอง ซึ่งสมาคมฯ สามารถขยายการจัดงานมหกรรมหนังสือฯ และสัปดาห์หนังสือฯ ไปยังจังหวัดเมืองรองมากขึ้น เช่น นครสวรรค์ จันทบุรี  ศรีราชา เป็นต้น เพื่อให้หนังสือคุณภาพเข้าถึงผู้อ่านทั่วประเทศอย่างเท่าเทียม


นอกจากนี้ ในช่วงที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว สมาคมฯ ภายใต้การนำของ “สุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์” ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการควบคุมสถานการณ์และความฉับไวในการตัดสินใจ ช่วยให้การจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น สร้างกระแส ดึงคนกลับมาร่วมงานได้อย่างล้นหลาม แม้จะอยู่ในภาวะวิกฤติ

2. Bangkok Rights Fair : ก้าวสำคัญของหนังสือไทยสู่เวทีโลกความสำเร็จโดดเด่นประการที่สองคือ การผลักดันงาน Bangkok Rights Fair ให้ก้าวสู่ระดับนานาชาติอย่างเต็มรูปแบบ จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ สู่งานที่มีการซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือข้ามชาติอย่างคึกคัก


การจัดงาน Bangkok Rights Fair 2025 ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม มีการซื้อขายลิขสิทธิ์ภายในงานมากถึง 271 คู่ จากผู้เข้าร่วม 135 บริษัท ใน 14 ประเทศ/เขตแดน มียอดการซื้อขายลิขสิทธิ์มากกว่า 68 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญ

“สุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์” เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงในการนำทัพธุรกิจหนังสือไทยไปสู่ตลาดโลกว่า สิ่งที่เห็นชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับ 3 ปีก่อน สำหรับบูธหนังสือไทยในงาน Book Exhibition ในต่างประเทศ เดิมทีจะเป็นบูธเล็กๆ แทบไม่มีการตกแต่ง แต่ปีล่าสุดในงาน Book Exhibition ที่ไต้หวัน พบว่า บูธของไทย กลายเป็นหนึ่งในบูธจากต่างประเทศ ที่มีผู้เข้าชมติดอันดับท็อปของงาน สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ปรับเปลี่ยน แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดเลยทีเดียว

ความสำเร็จครั้งนี้ทำให้ไทยได้รับเกียรติให้เป็น Guest of Honor ในงาน Taipei International Book Exhibition 2026 ซึ่งเป็นการยกระดับความสำคัญของวงการหนังสือไทยในเวทีนานาชาติ โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ Taipei Book Fair Foundation เพื่อเข้าร่วมงานดังกล่าว โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะมีสำนักพิมพ์ไทยเข้าร่วมงานจำนวน 30 สำนักพิมพ์ และมีมูลค่าการขายลิขสิทธิ์ประมาณ 15.7 ล้านบาทนอกจากนี้ ยังลงนามบันทึกความเข้าใจกับ Taiwan Creative Content Agency เพื่อแลกเปลี่ยน Fellowship Program หรือทุนสนับสนุนการเข้าร่วมงานระหว่างสำนักพิมพ์หรือตัวแทนลิขสิทธิ์จากไต้หวันและไทย ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้วงการหนังสือไทยได้เติบโตในระดับสากลมากขึ้น

3. การปรับภาพลักษณ์องค์กรและการสร้างพันธมิตรใหม่ความสำเร็จประการที่สามคือการปรับภาพลักษณ์ของสมาคมฯ และงานหนังสือให้มีความทันสมัย สร้างการรับรู้ใหม่ในวงกว้าง จากเดิมที่หลายคนอาจไม่รู้จัก สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย หรือ PUBAT มากนัก แต่ปัจจุบัน PUBAT กลายเป็นองค์กรที่มีภาพลักษณ์ทันสมัย เป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

นลอกจากนี้ สมาคมฯ ยังเน้นการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรจากหลากหลายวงการทั้งภาครัฐและเอกชน (Collaboration) เช่น กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ โก๋แก่  ยืดเปล่า (Yuedpao) รวมถึงพันธมิตรในระดับท้องถิ่น เช่น อินฟลูเอนเซอร์ในชุมชน เพื่อประชาสัมพันธ์งานมหกรรมหนังสือในภูมิภาค การเชิญศิลปินและนักวาดภาพประกอบมาจัดแสดงผลงานในงานหนังสือ เช่น การจัดนิทรรศการศิลปะร่วมกับทีม Bangkok Illustration Fair เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้กับองค์กร สมาชิก ผู้อ่าน รวมถึงผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนการเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้งานมหกรรมหนังสือฯ หรืองานสัปดาห์หนังสือฯ ไม่ใช่เป็นเพียงพื้นที่สำหรับซื้อ-ขายหนังสือ แต่ยังเป็นพื้นที่แสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ที่ครอบคลุมระบบนิเวศของวงการหนังสือทั้งหมด ตั้งแต่นักเขียน นักวาดภาพประกอบ สำนักพิมพ์ ไปจนถึงผู้อ่าน

นอกจากนี้ สมาคมฯ ยังให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในสังคม ผ่านโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ต่างๆ เช่น มูลนิธิหนึ่งอ่านล้านตื่น ใช้รูปแบบการบริจาคแนวใหม่ที่เรียกว่า "Donation Sales" เปิดโอกาสให้ผู้บริจาคได้เลือกหนังสือใหม่ที่จะบริจาคให้กับโรงเรียนหรือหน่วยงานต่างๆ แทนการบริจาคหนังสือเก่าที่อาจไม่ตรงกับความต้องการของผู้รับ การเปิดพื้นที่ให้กับมูลนิธิกระจกเงาในการนำหนังสือมือสองมาจำหน่ายเพื่อหารายได้  

วิสัยทัศน์สู่อนาคต : เติบโตไปด้วยกันนายสุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์ นายกสมาคมฯ กล่าวว่า เรามีเป้าหมายที่จะผลักดันอุตสาหกรรมหนังสือไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ "เติบโตไปด้วยกัน" โดยมีเป้าหมายสำคัญสำหรับอนาคต ดังนี้

1. การขยายงานหนังสือสู่เมืองรอง : สมาคมฯ มีแผนจะขยายการจัดงานมหกรรมหนังสือไปยังจังหวัดต่างๆ มากขึ้น ไม่เพียงแค่กรุงเทพฯ เท่านั้น เพื่อให้หนังสือคุณภาพเข้าถึงผู้อ่านทั่วประเทศอย่างเท่าเทียม

2. การผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายลิขสิทธิ์หนังสือ : ตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางหนังสือของอาเซียนอย่างเต็มตัว ในปี 2569 ศูนย์กลางเอเชีย ภายใน 5 ปี และศูนย์กลางของโลก ภายใน 10 ปี

3. การสร้างรายได้นอกเหนือจากการซื้อขายลิขสิทธิ์ : สมาคมฯ วางแผนพัฒนาช่องทางรายได้ใหม่ๆ ซึ่งอาจรวมถึงการทำงานร่วมกับสถานทูตและกระทรวงต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านในกลุ่มคนไทยในต่างประเทศ ซึ่งไม่ใช่เพียงการซื้อ-ขายลิขสิทธิ์หนังสือ เพื่อการแปลเป็นภาษาที่ 2 หรือ 3 เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการนำลิขสิทธิ์ไปต่อยอดเป็นภาพยนตร์ ซีรีย์ หรือเกม เป็นต้น 

4. การสร้างผู้เล่นรายใหม่ในวงการ : จัดอบรมและพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ที่ต้องการเข้าสู่วงการหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน บรรณาธิการ หรือผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มความหลากหลายและคุณภาพในวงการหนังสือไทย 

5. การขยายโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม : มุ่งพัฒนาโครงการ CSR ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น เช่น กรมราชทัณฑ์ มูลนิธิเด็กด้อยโอกาส และผู้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงหนังสือคุณภาพอย่างทั่วถึง นายสุวิช กล่าวว่า "อุตสาหกรรมหนังสือไม่ได้มีแค่การซื้อขายหนังสือเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาคน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต" สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในการขับเคลื่อนวงการหนังสือไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ภายใต้แกนนำของ “สุวิช รุ่งวัฒนไพบูลย์” นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) และคณะกรรมการคนรุ่นใหม่ ไฟแรง ที่มีความทันสมัย มากสามารถ มองการณ์ไกล และมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของโลกอุตสาหกรรม หนังสือไทยกำลังเดินหน้าสู่การเป็น "ซอฟท์พาวเวอร์" ที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของประเทศ พร้อมก้าวสู่เวทีโลกอย่างภาคภูมิ 

 

ไม่มีความคิดเห็น