Breaking News

งานประเพณีกำฟ้า ไทพวน จ.สิงห์บุรี

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๖. ๓๐น.ที่บริเวณลานวัดอุตตะมะพิชัย ต.บางน้ำเปรี้ยว อ.พรหมบุรีจ.สิงห์บุรีได้จัดงานประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวน ประจำปี ๒๕๖๓ ขึ้นโดยมีนายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรีได้ให้เกียรติ์เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานครั้งนี้



 - การเผาข้าวหลามของชาวไทพวน
สำหรับประเพณีกำฟ้า เป็นประเพณีสำคัญของชาวไทพวนที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยในแขวงเชียงขวาง สปป.ลาวต่อมาอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่3 กระจัดกระจายไปอาศัยอยู่หลายภูมิภาค เช่น ในจ.สระบุรี,ลพบุรี,สิงห์บุรี,สุพรรณบุรี,ฉะเชิงเทรา,นครนายก,ปราจีนบุรี,อุดรธานี,หนองคาย,แพร่,สุโขทัย อุตรดิตถ์ และพิจิตร เป็นต้น

 - การแห่ข้าวหลามของชาวไทพวน
- สาวไทพวน
ประเพณีกำฟ้า เป็นงานบุญพื้นบ้านของชาวไทยพวน ที่บ้านบางน้ำเชี่ยวและบ้านดอนคา อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จัดขึ้นเพื่อเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพยดาผู้รักษาฟากฟ้า และบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ถือเอาวันขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๓เป็นวันสุกดิบ โดยชาวบ้านจะช่วยกันตำข้าวปุ้น (ขนมจีน) และข้าวจี่ ข้าวหลามไว้สำหรับทำบุญตักบาตรในวันรุ่งขึ้นส่วนพิธีจะมีในตอนเย็น ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียว,ไข่,น้ำตาล ไปเข้ามงคลในพิธีเจริญพุทธมนต์กลางคืนจะมีมหรสพแสดงกันเป็นที่สนุกสนาน ตกดึกจะพากันนึ่งข้าวเหนียว ทำขนม ในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ซึงเป็นวันกำฟ้า ชาวบ้านก็จะนำไทยทานและอาหารที่เตรียมไว้ไปร่วมทำบุญที่วัด เมื่อพ้นกำฟ้า ๗ วันแล้ว จะต้องกำฟ้าอีกครึ่งวัน และนับต่อไปอีก ๕วัน จะมีการจัดอาหารถวายพระ เสร็จแล้วนำไฟดุ้นหนึ่งไปทำพิธีเลียแล้ง โดยการนำไปลอยตามแม่น้ำลำคลองถือเป็นการบูชาและระลึกถึงเทพเจ้า เป็นอันเสร็จพิธีกำฟ้า

- นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรีได้ให้เกียรติ์เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานครั้งนี้
ประเพณีกำฟ้า มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวไทยพวนที่ แม้ว่าการรวมตัวในแต่ละท้องถิ่นของชาวไทพวนจะมีไม่มากนัก แต่ทุกแห่งต่างก็สามารถรักษาวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมที่มีมาช้านานไว้ได้เป็นอย่างดี

 สำหรับ ความหมายของคำว่า "กำฟ้า" คำว่า “กำ “หมายถึง การสักการบูชา (ภาษาพวน)คำว่า “กำฟ้า”จึงหมายถึง “การสักการะบูชาฟ้า” ประเพณีโบราณนี้โดยปกติ จะจัดวันขึ้น 3 ค่ำเดือน3 เป็นวันกำฟ้า ก่อนวันกำฟ้า1วัน คือวันขึ้น2 ค่ำเดือน3 จะถือเป็นวันสุกดิบแต่ละบ้านจะทำข้าวปุ้นหรือขนมจีนพร้อมทั้งน้ำยาและน้ำพริกไว้เลี้ยงดูกัน 
- การแห่ข้าวหลามของชาวไทพวน
ส่วนของหวานก็จะมีการทำข้าวหลามเผาไว้ในกระบอกข้าวหลามอ่อนมีการทำข้าวจี่ ทำโดยการนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดพอเหมาะอาจจะใส่ใส้หวานหรือใส่ใส้เค็มหรือไม่ใส่ใส้เลย ก็ได้ เสียบเข้ากับไม้ทาโดยรอบด้วยไข่ แล้วนำไปปิ้งไฟจนสุกหอม ข้าวจี่จะนำไปเซ่นไหว้ผีฟ้าและแบ่งกันกินในหมู่ญาติพี่น้อง พอถึงวันกำฟ้าทุกคนในบ้านจะไปทำบุญที่วัด มีการใส่บาตรด้วยข้าวหลาม ข้าวจี่ ตกตอนบ่ายจะมีการละเล่นไปจน ถึงกลางคืน การละเล่นที่นิยมได้แก่ช่วงชัย,มอญซ่อนผ้า,นางด้ง ฯลฯ







- อาหารพื้นบ้านของชาวไทพวน

- การแสดงพื้นบ้านของชาวไทพวน
-ชาวไทพวนสิงห์บุรีถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกัน

ไม่มีความคิดเห็น