Breaking News

ผลสำรวจโดยเวียร์ทริศ ชี้ 1 ใน 2 ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียทั่วโลกได้รับผลกระทบรุนแรงด้านคุณภาพชีวิตและยังไม่เป็นที่รู้จักของโรคเรื้อรังนี้ โดยเฉลี่ยใช้เวลาวินิจฉัยประมาณหนึ่งปี ขณะที่ ผู้ป่วยไทยเกือบ 1 ใน 4 รายใช้เวลามากกว่า 3 ปี


 กรุงเทพฯ - 13 พฤษภาคม 2565 - ทุกวันที่ 12 พฤษภาคม ของทุกปี ทั่วโลกจะส่งสัญลักษณ์ริบบิ้นสีม่วงเพื่อให้ความสำคัญต่อวันตระหนักรู้โรคไฟโบรมัยอัลเจีย กลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วไป มีความชุกทั่วโลกประมาณ 2-8%2 ผู้ป่วยมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูกที่ไม่เกิดการอักเสบเป็นวงกว้างและเรื้อรัง มักมีอาการร่วมทั้งทางร่างกายและจิตใจ จึงยากต่อการรู้แต่เนิ่น ๆ บริษัทเวียร์ทริศ (ประเทศไทย) จำกัด  ร่วมกับ โรงพยาบาลเมดพาร์ค จัดกิจกรรม UNREAL PAIN (The Fibromyalgia Journey) โดยภายในงานพญ.อุไรรัตน์ ศิริวัฒน์เวชกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเมดพาร์ค มาให้ข้อมูลโรค การรักษาและกายภาพบำบัด คุณแอนนี่ เพชรรัตน์ สิริเลิศสุวรรณ จาก Pilates Studio นำการออกกำลังกายพิลาทิสสำหรับผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังได้เผยผลสำรวจ Elma โดยเวียร์ทริศเพื่อศึกษาความต้องการของผู้ป่วยเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยและรักษาที่ทันท่วงที 


เภสัชกรหญิง อมินตา ยินดีพิธ ตำแหน่ง Head of Marketing บริษัท เวียร์ทริศ (ประเทศไทย) จำกัด  กล่าวว่า “เวียร์ทริศ  มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมผู้คนทั่วโลกให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นในทุกช่วงชีวิต เราทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพที่คุณภาพสูงและมีความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังจากโรคไฟโบรมัยอัลเจีย  ด้วยเหตุผลนี้ เราจึงทุ่มเทความพยายามของเราในการทำให้โรคไฟโบรมัยอัลเจียเป็นที่รู้จักมากขึ้น และสนับสนุนให้ผู้ป่วยจัดการกับอาการป่วยได้ดีขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นดังกล่าว เวียร์ทริศ ได้จัดทำแบบสำรวจ Elma รูปแบบออนไลน์ใน 6 ประเทศ ได้แก่ บราซิล จีน เม็กซิโก ไต้หวัน ไทย และตุรกี โดยมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไฟโบรมัยอัลเจียร่วมตอบแบบสอบถาม 553 คน เปิดเผยเส้นทางที่ซับซ้อนในการวินิจฉัยโรค ความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง และวิธีการรับมือกับอาการของโรค ที่มีสัญญาณเริ่มต้น ได้แก่ อาการปวดเรื้อรัง อ่อนเพลีย  และปวดศีรษะ ซึ่งส่วนใหญ่สร้างความรำคาญใจอย่างมากหรืออย่างยิ่ง”


ผลการสำรวจผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียชาวไทยพบว่า ก่อนเข้ารับการวินิจฉัย 6 ใน 10 ของผู้ป่วย หรือ 63% เริ่มมีอาการอ่อนเพลีย จากนั้นมีอาการปวดเรื้อรัง 40% และกระจายตามร่างกายที่หลากหลาย 46% เกือบ 2 ใน 3 หรือ 64% มีอาการปวดศีรษะ นำไปสู่โรคนอนไม่หลับ 53% และ วิตกวังวล 48% มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยรู้สึกกลุ้มใจ วิตกกังวล และมีภาวะซึมเศร้า สำหรับผู้ป่วยไทยอาการทางอารมณ์ร่วมที่พบบ่อยคือการขาดสมาธิ 28%


ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย มักไม่ใส่ใจอาการเนื่องจากคิดว่าเป็นภาวะชั่วคราวและเกี่ยวข้องกับอายุที่มากขึ้น แม้ว่าการทำกิจกรรมส่วนใหญ่ทั้งทางสังคมและการพักผ่อนจะได้รับผลกระทบเพราะร่างกายที่อ่อนแอ ในผู้ป่วยทั่วโลก 1 ใน 2 รายรู้สึกว่าจำเป็นต้องจำกัดชีวิตการทำงาน 48% และกิจกรรมทางเพศกับคู่ครอง 47% ขณะที่ผู้ป่วยไทยมีการจำกัดกิจกรรมมากกว่าค่าเฉลี่ยที่ 65%

โดยเฉลี่ย ผู้ป่วยจะรอ 8 สัปดาห์ก่อนพบแพทย์ และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ 3 คนก่อนจะได้รับการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย นอกจากนี้ 1 ใน 4 ของผู้ป่วย  หรือ 28% ระบุว่าการพบแพทย์ที่ถูกต้องเป็นเรื่องยาก ต้องผ่านการทดสอบจำนวนมากและไม่เป็นที่พอใจนานถึง 1 ปี  29% แม้ว้า 1 ใน 4 ของผู้ป่วยจะใช้เวลามากกว่า 3 ปี โดยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ 35% นักประสาทวิทยา 28%  เป็นผู้วินิจฉัยหลัก

ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งประสบปัญหาในการรับมือกับโรคนี้ทั้งในแง่อารมณ์และการปฏิบัติ โดย 58% ระบุว่าคุณภาพชีวิตได้รับผลกระทบทั้งหมดหรืออย่างมาก ผู้ป่วยอย่างน้อย 1 ใน 3 ต้องเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันอย่างมีนัยสำคัญหรือแม้แต่การเลิกรากันไป กว่า 60% ของผู้ป่วยระบุว่ามีความลำบากในการรับมือทั้งในระดับอารมณ์และในทางปฏิบัติ ผู้ป่วย 5 ใน 10 คนต้องการการสนับสนุนจากครอบครัว โดยเฉพาะการดูแลและการเคลื่อนไหว ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสัมพันธ์ของพวกเขา 


ผู้ป่วยไทยได้รับคำแนะนำให้ทำกายภาพบำบัด 39% หรือจิตบำบัด 40% รักษาด้วยยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ 20% และรับคำแนะนำในการดำเนินชีวิต เช่น สุขอนามัยในการนอนหลับ 24% โดยกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาคือ แพทย์ออร์โธปิดิกส์ 35% และนักประสาทวิทยา 28%  ผู้ป่วยส่วนใหญ่พึงพอใจต่อการรักษาของแพทย์อย่างมาก แม้ว่าผู้ป่วยประมาณครึ่งหนึ่งหรือมากกว่านั้นต้องการทางเลือกการรักษา กายภาพบำบัด และรับข้อมูลยาใหม่ๆ อยู่เสมอ


พญ.อุไรรัตน์ ศิริวัฒน์เวชกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเมดพาร์ค กล่าวเสริมว่า จากการศึกษาวิจัยในระยะ 30 มานี้เชื่อว่า ผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียมีปัจจัยบางอย่างกระตุ้นให้ระบบประสาทส่วนกลางทั้งสมองและไขสันหลัง มีความไวต่อความปวดมากกว่าปกติ และมีระดับของสารเคมีในสมองและไขสันหลังผิดปกติเหนี่ยวนำให้ตอบสนองต่อความปวดมากกว่าปกติด้วย โดยสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และหากมีโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรค SLE ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะเป็นไฟโบรมัยอัลเจียมากขึ้นไปด้วย


เนื่องจากไฟโบรมัยอัลเจียมีอาการและอาการร่วมหลากหลายจึงทำให้ผู้ป่วยมักได้รับการวินิจฉัยโรคช้า มักผ่านการตรวจหลายอย่างและพบแพทย์หลายท่าน อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยไฟโบรมัยอัลเจียอาศัยการซักประวัติตรวจร่างกาย ตรวจเลือดและตรวจทางรังสีเพื่อหาโรคอื่นๆที่มีอาการซ้ำซ้อนกัน ตลอดจนติดตามการรักษาระยะหนึ่งก็จะให้การวินิจฉัยได้


สิ่งที่สำคัญที่สุดในการรักษาไฟโบรมัยอัลเจียคือการให้ความรู้ความเข้าใจ ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน กลัวและวิตกกังวล หรือท้อแท้ ผู้ป่วยควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาในแต่ละขั้นตอนโดยมีเป้าหมายเพื่อลดอาการปวด ปรับปรุงสุขภาพกายโดยรวมและดูแลสุขภาพจิตใจ สู่คุณภาพชีวิตที่ดี 

การรักษาด้วยยา จะมีบทบาทในการลดอาการปวด มีให้เลือกใช้ตามความเหมาะสมแล้วแต่อาการหลักอันไหนเด่น ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรหายามารับประทานเอง นอกจากนี้ ยังมีผลการศึกษาพบว่าในไฟโบรมัยอัลเจีย การรักษาโดยไม่ใช้ยามีความสำคัญไม่แพ้การใช้ยาและแนะนำให้ใช้ก่อนหรือร่วมไปกับการใช้ยา เช่น การออกกำลังกายทั้งบนบกและในน้ำ โยคะ ชี่กง การรำมวยจีน กายภาพบำบัด การนวด การฝึกสมาธิ ตลอดจนจิตบำบัด เพื่อรับมือกับความปวดเรื้อรัง การดูแลรักษาไฟโบรมัยอัลเจีย ไม่ได้มีความยุ่งยาก ไม่ต้องใช้เครื่องมือซับซ้อนใดๆ หากแต่เป็นงานร่วมกันของแพทย์กับผู้ป่วย และต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งก็จะสามารถทำให้อาการสงบลงได้ สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ”


คุณแอนนี่ เพชรรัตน์ สิริเลิศสุวรรณ จาก Pilates Studio “พิลาทิสเป็นการออกกำลังที่ไม่มีแรงกระแทกที่หนัก (low impact exercise) ช่วยให้ผู้ฝึกกระตุ้นมัดกล้ามเนื้อที่ถูกต้องได้ดีขึ้นโดยที่ไม่ทำให้เหนื่อยเกินไป และสามารถช่วยลดอาการปวดของโรคไฟโบรมัยอัลเจียได้ โดยจะฝึกเพิ่มเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strengthening)


การเหยียดยืดเพิ่มความยืดหยุ่น (flexibility) และการขยับข้อต่อและกระดูสันหลังเพิ่มเพิ่มความคล่องตัว (mobility) และที่สำคัญยังสามารถช่วยลดภาวะ depression ได้เป็นอย่างดี ท่าที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจีย อาทิ Pelvic clock, Bridging, Arm arc, Bent knee opening, Book opening”

ศึกษาข้อมูลโรคไฟโบรมัยอัลเจียเพิ่มเติมได้ที่ www.unrealpain.com  

ไม่มีความคิดเห็น