รมว.กก. แถลง 7 นโยบายพลิกโฉมการท่องเที่ยวและกีฬาไทย ปักธงเป้าหมายรายได้การท่องเที่ยวสูงสุด 3.5 ล้านบาท
วันที่ 17 มกราคม 2567 ณ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในงานแถลงข่าวแนวทางขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประกาศ 7 นโยบายหลักพลิกโฉมท่องเที่ยวและกีฬา ชูซอฟต์พาวเวอร์เป็น
สำหรับ นโยบายที่ 1 กระทรวงฯ มุ่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่โหมดของคุณภาพ ทั้งมิติของในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้การบูรณาการของทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมให้บรรยากาศการท่องเที่ยวของประเทศไทยคึกคักตลอดทั้งปี (365 วัน) และเป็น High season all year round tourism destination โดยเน้นการกระจายตัวนักท่องเที่ยวสู่เมืองรอง นำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ เพิ่มความถี่ในการเดินทาง ขยายจำนวนวันพักค้าง และเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว รวมทั้งยกระดับกิจกรรม Event ต่าง ๆ ในระดับชุมชนให้เป็น Event ในระดับนานาชาติ อาทิ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่จัดกิจกรรม
นโยบายที่ 2 ใช้พลังของ Soft Power เข้ามาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการกีฬาของประเทศไทยให้เป็น “the New Power Engine” และเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน Demand และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทย
นโยบายที่ 3 ประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับการยกระดับความปลอดภัยทั้ง Hospitality และ Safety แก่นักท่องเที่ยว โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะบูรณาการหน่วยงานในสังกัดผ่านศูนย์ CCOC โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวผ่านรูปแบบรถโมบายล์ถ่ายทอด และสร้างชุมชนเข้มแข็งผ่านการอบรมอาสาสมัครเข้าร่วมหลักสูตรดูแลนักท่องเที่ยวกว่า 600 ราย นอกจากนี้ ยังมีศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 1155 ที่มีระบบเชื่อมไปยังสถานีตำรวจและศูนย์นเรนทร ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยรับเรื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมง และเป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยงานต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตที่สามารถเข้าช่วยเหลือในทันที รวมทั้งเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายและปราบปรามการเอาเปรียบ หลอกลวงนักท่องเที่ยว เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย
นโยบายที่ 4 มุ่งสู่ความยั่งยืน (High Value & Sustainability) โดยจะขับเคลื่อนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และบูรณาการร่วมกันกับท้องถิ่น ในการนำเสนอสินค้าท้องถิ่นและกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย เตรียมพัฒนาสู่ความยั่งยืนตามแนวทางการท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism) และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All)
นโยบายที่ 5 ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการกระชับความสัมพันธ์ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสานต่อนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้ความสำคัญกับการเดินทางเชื่อมโยงภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นโยบายที่ 6 ด้านกีฬาพื้นฐาน เร่งพัฒนาการการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาให้สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งคนปกติ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ และกีฬาเพื่อการอาชีพที่ทุกระดับ โดยนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วยเพิ่มสมรรถนะให้กับนักกีฬาไทย เพื่อเตรียมความพร้อมแข่งขันในระดับนานาชาติ กีฬาอาชีพ รวมไปถึงส่งเสริมกิจกรรมกีฬาใหม่อย่าง E-Sport สร้างทักษะให้กับเยาวชน รวมทั้งผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติและระดับโลก
นโยบายที่ 7 เตรียมพร้อมสำหรับมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ ซึ่งปี 2567 จะมีรายการแข่งขันระดับนานาชาติหลายรายการทั้งการส่งนักกีฬาไปร่วมแข่งขันกีฬา โอลิมปิกปารีส 2024 และการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน ได้แก่ เอเชียนอินดอร์ มาร์เชียลอาร์ตเกมส์ จักรยานยนต์โมโตจีพี เจ็ตสกีชิงแชมป์โลก ฮอนด้า แอลพีจี เอ ไทยแลนด์ 2024 รวมถึงการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ในปี 2568 ซึ่งมี 3 จังหวัดร่วมเป็นเจ้าภาพ ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี และสงขลา
ขุมพลังใหม่ โดยฝั่งการท่องเที่ยวเน้นส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง นำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ ขยายวันพักค้างเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ควบคู่กับการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยว เพื่อเป้าหมายสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุดที่ 3.5 ล้านล้านบาทในปี 2567 ขณะที่การกีฬาเน้นส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ และกีฬาอาชีพ ตลอดจนเดินหน้าเพิ่มมูลค่ากีฬาไทยในอุตสาหกรรมกีฬาโลก
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า
ปี 2567 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามุ่งเดินหน้าพลิกโฉมการท่องเที่ยวและกีฬาของไทยอย่างเต็มกำลัง ด้วย 7 นโยบายสำคัญ ภายใต้การบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายรายได้ท่องเที่ยวสูงสุด 3.5 ล้านล้านบาทในปี 2567 เพิ่มจากในปี 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งสิ้นกว่า 28 ล้านคนสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ และคาดว่ามีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 จากปี 2565 ขณะที่เพิ่มส่วนแบ่งมูลค่ากีฬาไทยจากเดิม 0.58 % เป็น 1% จากภาพรวมอุตสาหกรรมกีฬาโลกที่มีขนาด 45.58 ล้านล้านบาท คิดเป็นมูลค่า 455,800 ล้านบาท สำหรับ นโยบายที่ 1 กระทรวงฯ มุ่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสู่โหมดของคุณภาพ ทั้งมิติของในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้การบูรณาการของทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมให้บรรยากาศการท่องเที่ยวของประเทศไทยคึกคักตลอดทั้งปี (365 วัน) และเป็น High season all year round tourism destination โดยเน้นการกระจายตัวนักท่องเที่ยวสู่เมืองรอง นำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ เพิ่มความถี่ในการเดินทาง ขยายจำนวนวันพักค้าง และเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว รวมทั้งยกระดับกิจกรรม Event ต่าง ๆ ในระดับชุมชนให้เป็น Event ในระดับนานาชาติ อาทิ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่จัดกิจกรรม
นโยบายที่ 2 ใช้พลังของ Soft Power เข้ามาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการกีฬาของประเทศไทยให้เป็น “the New Power Engine” และเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน Demand และสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทย
นโยบายที่ 3 ประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับการยกระดับความปลอดภัยทั้ง Hospitality และ Safety แก่นักท่องเที่ยว โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะบูรณาการหน่วยงานในสังกัดผ่านศูนย์ CCOC โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวผ่านรูปแบบรถโมบายล์ถ่ายทอด และสร้างชุมชนเข้มแข็งผ่านการอบรมอาสาสมัครเข้าร่วมหลักสูตรดูแลนักท่องเที่ยวกว่า 600 ราย นอกจากนี้ ยังมีศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 1155 ที่มีระบบเชื่อมไปยังสถานีตำรวจและศูนย์นเรนทร ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยรับเรื่องตลอดเวลา 24 ชั่วโมง และเป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยงานต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตที่สามารถเข้าช่วยเหลือในทันที รวมทั้งเข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายและปราบปรามการเอาเปรียบ หลอกลวงนักท่องเที่ยว เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย
นโยบายที่ 4 มุ่งสู่ความยั่งยืน (High Value & Sustainability) โดยจะขับเคลื่อนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และบูรณาการร่วมกันกับท้องถิ่น ในการนำเสนอสินค้าท้องถิ่นและกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย เตรียมพัฒนาสู่ความยั่งยืนตามแนวทางการท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism) และการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for All)
นโยบายที่ 5 ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการกระชับความสัมพันธ์ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสานต่อนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้ความสำคัญกับการเดินทางเชื่อมโยงภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นโยบายที่ 6 ด้านกีฬาพื้นฐาน เร่งพัฒนาการการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาให้สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งคนปกติ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ และกีฬาเพื่อการอาชีพที่ทุกระดับ โดยนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาช่วยเพิ่มสมรรถนะให้กับนักกีฬาไทย เพื่อเตรียมความพร้อมแข่งขันในระดับนานาชาติ กีฬาอาชีพ รวมไปถึงส่งเสริมกิจกรรมกีฬาใหม่อย่าง E-Sport สร้างทักษะให้กับเยาวชน รวมทั้งผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติและระดับโลก
นโยบายที่ 7 เตรียมพร้อมสำหรับมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ ซึ่งปี 2567 จะมีรายการแข่งขันระดับนานาชาติหลายรายการทั้งการส่งนักกีฬาไปร่วมแข่งขันกีฬา โอลิมปิกปารีส 2024 และการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน ได้แก่ เอเชียนอินดอร์ มาร์เชียลอาร์ตเกมส์ จักรยานยนต์โมโตจีพี เจ็ตสกีชิงแชมป์โลก ฮอนด้า แอลพีจี เอ ไทยแลนด์ 2024 รวมถึงการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ในปี 2568 ซึ่งมี 3 จังหวัดร่วมเป็นเจ้าภาพ ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี และสงขลา
ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเชื่อมั่นว่าการดำเนิน 7 นโยบายข้างต้นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารวมถึงการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานภายใต้สังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมกีฬาไทยให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ในปี 2567
ไม่มีความคิดเห็น