BRI สมาคมการค้าการลงทุนเส้นทางสายไหมไทย-จีน แสวงหาโอกาสและตรวจสอบสถานะความก้าวหน้า ‘จับโอกาส ก้าวต่อไปประเทศไทย บนเส้นทางสายไหมการค้าไทย-จีน’
สถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา บีอาร์ไอ (BAI Institute of Research Development on Economic and Education: BRIIRDEE) และสมาคมการค้าการลงทุนเส้นทางสายไหมไทย-จีน (Thai-China One Belt One Road Investment Trade Association: TCBRID ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกริกและสมาคมพัฒนา เศรษฐกิจจีน-เอเชีย (China-Asia Economic Development Association: CAEDA)
จัดงานสัมมนา ‘จับโอกาส ก้าวต่อไปประเทศไทย บนเส้นทาง BRI (Catch What's Next for Thailand after BRI's 10 years)’ เพื่อร่วมกับแสวงหาโอกาสและตรวจสอบสถานะความก้าวหน้าโครงการ Belt & Road Initiative (BRI) ที่จะส่งผลต่อ ประเทศไทยจากการเชื่อมโยงกับประเทศจีน และประเทศอื่นๆ บนเส้นทาง BAI หลังจากครบรอบ 10 ปี ของ Bett & Road Initiative (BRI) เมื่อเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา
26 มกราคม 2567 - ห้องบอลรูม 2 โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ สถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและ การศึกษา บีอาร์โอ (BRI Institute of Research Development on Economic and Education BRIRDEE) was สมาคมการค้าการลงทุนเส้นทางสายไหมไทย-จีน (Thai-China One Belt One Road Investment Trade Association - TCBR) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกริกและสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจจีน-เอเชีย (China-Asia Economic Development Association: CAEDA)โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท หยวนหวง อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง กรุ๊ป จำกัด บริษัท Up Power และ CAlIHR จัดสัมมนา ‘จับโอกาสก้าวต่อไปประเทศไทย บนเส้นทาง BRI (Catch What's Next for Thailand after BRI's 10 years)’ เพื่อแสวงหาโอกาสและตรวจสอบสถานะความก้าวหน้าโครงการ BRI ที่จะส่งผล ต่อประเทศไทยจากการเชื่อมโยงกับประเทศจีน และประเทศอื่นๆ บนเส้นทาง BRI ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยงทั้งด้าน กายภาพ การค้า การศึกษา ดิจิทัล การเงิน และวัฒนธรรม
ดร.ธารากร วุฒิสถิรกูล ประธานสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา บีอาร์ไอ (BRI Institute of Research Development on Economic and Education: BRIIRDEE) และนายกสมาคมการค้าการลงทุนเส้นทาง สายไหมไทย-จีน กล่าวถึง วัตถุประสงค์การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ว่า'เพื่อร่วมกันแสวงหาโอกาสและตรวจสอบสถานะ ความก้าวหน้าโครงการ Belt & Road Initiative (BRI) หลังจากครบรอบ 10 ปี BRI' ซึ่งได้พัฒนาไปไกลกว่าเรื่องโครงสร้าง พื้นฐานด้านการคมนาคม แต่เป็น 'การริเริ่ม' ของจีนที่มีกรอบความสัมพันธ์ทวิภาคีร่วมกับประเทศต่างๆ กว่า 130 ประเทศ
โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา โดยเน้นความร่วมมือด้านการเชื่อมโยง การพัฒนาสีเขียว เศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึง การค้า การแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน ความร่วมมือระดับท้องถิ่นและความร่วมมือทางทะเล การจัดสัมมนา ครั้งนี้ เป็นไปตามพันธกิจของสถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา บีอาร์โอ ซึ่งมาจากวิสัยทัศน์และแนวคิดการ ก่อตั้งที่ต้องการเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนร่วมกันระหว่างประเทศบนเส้นทางสายไหม สู่ความมั่นคง รุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์ และสันติ สุขร่วมกับดังนั้น พันธกิจ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของสถาบัน ‘ร่วมสร้างโอกาสเชื่อมโยงเส้นทางสายไหมไทย- จีน สู่ความมั่งคั่งมั่นคงและยั่งยืนร่วมกัน’ โดยส่งเสริมความร่วมมือการทำวิจัยกับองค์กรต่างๆ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อโอกาสการค้าการลงทุนร่วมกัน ส่งเสริมความร่วมมือกันกับสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาผู้ประกอบการให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันตามวัตถุที่ประสงค์ ส่งเสริมความสัมพันธ์ และความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนรวมถึงประเทศอื่นๆบนเส้นทางสายไหม โดยเฉพาะด้านศึกษา และงานวิจัย ซึ่งสถาบันฯ จะเปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหารโอกาสใหม่ BRI ในเดือนมีนาคมนี้
“การจัดสัมมนาครั้งนี้ สถาบันฯ ได้รับเกียรติจาก นายพิริยะ เข็มพล ที่ปรึกษาพิเศษด้านการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศจีน เปิดงานและเป็นองค์ปาฐก หัวข้อ ‘อกาสประเทศไทยบนเส้นทาง BRI’และ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ตร. นพ.กระแสร์ ชนะวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ บรรยายพิเศษ ‘ความเชื่อมโยง ระหว่างประชาชน (People to People Connectivity): หนึ่งในปัจจัยการพัฒนาและเติบโต BRI’
ส่วนการ เสวนา 'จับโอกาสก้าวต่อไปประเทศไทย บนเส้นทาง BRI' นั้น ได้รับเกียรติจากทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทยจีน สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) นางสาว ชนยา พูล ภักตร์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส โครงการบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ (IM) สำนักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้าไทยในจีน และผม ดร.ธารากร วุฒิสถิรกูล' กล่าวเพิ่มเติม
สอบถามเพิ่มเติม สถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา บีอาร์โอ
(สถาบันวิจัยพัฒนาเศรษฐกิจและการศึกษา BRI: BRIIRDEE)
อีเมล์ briirdee@gmail.com https://www.facebook.com/brirdee/
ไม่มีความคิดเห็น