Breaking News

“แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศ (National Digital Trade Platform - NDTP)กุญแจดอกใหญ่ สู่อนาคตแห่งธุรกิจการค้าไทยและเอเชียแปซิฟิกที่สดใสยิ่งกว่า”

ประเด็นสำคัญ
• ความสำคัญของแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (NDTP) อันส่งผลต่อการประกอบธุรกิจและการยกระดับเศรษฐกิจทั้งต่อภายในประเทศและระหว่างภูมิภาค
• ประโยชน์จากแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (NDTP)
• ความคืบหน้าล่าสุดของแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (NDTP)
• ข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน ต่อการยกระดับและขับเคลื่อนการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด
ผู้ให้ข้อมูล
• นายกอบศักดิ์ ดวงดี
ผู้แทนสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (ABAC)
• นายจำรัส สว่างสมุทร
ผู้อำนวยการใหญ่, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

• นายผรินทร์ อมาตยกุล
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการตลาด บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด
• นายปราโมทย์ หล่อศรัทธา
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส & ประธานสายงานบริหาร บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด
• คุณอมรพันธุ์ อร่ามวัฒนานนท์
รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซี แวลู จำกัด (มหาชน)
เกี่ยวกับแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศ National Digital Trade Platform (NDTP)
แพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศ (National Digital Trade Platform “NDTP”) คือ แพลตฟอร์มของประเทศไทยสำหรับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าเพื่อใช้ติดต่อ ประสานงาน ส่งและรับเอกสารอิเล็คทรอนิคส์ ที่เกี่ยวข้องในการส่งออกและนำเข้ากับหน่วยงานทั้งภาคเอกชนและภาครัฐในประเทศ และส่งต่อไปให้คู่ค้าในต่างประเทศ สำหรับการส่งออก หรือรับเอกสารอิเล็คโทรนิคส์สำหรับการนำเข้า
จุดมุ่งหมายและประโยชน์ของการจัดตั้งและพัฒนา NDTP คือการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ส่งออกและผู้นำเข้าในประเทศไทย ทำให้การติดต่อประสานงานทางธุรกิจเพื่อการส่งออกนำเข้า “ง่าย สะดวก รวดเร็ว” ขึ้น ช่วยป้องกันการทำธุรกรรมในเชิงมิชอบหรือการทำธุรกรรมซ้ำซ้อน และช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการทำการค้าแก่กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs ในประเทศด้วย
การดำเนินการเพื่อให้เกิดการ Digitize การค้าระหว่างประเทศ จะมี 2 ส่วน คือ
1. NDTP ในประเทศไทย: NDTP เป็น Project ที่ขับเคลื่อนโดยกกร ซึ่งเป็นความร่วมมือของภาคเอกชน 3 สถาบัน คือ สภาหอการค้า สภาอุตสากรรม และสมาคมธนาคารไทย เริ่มต้นทำงานกันมาตั้งแต่ปี 2019 เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการในส่วนของ B2B และไปเชื่อมต่อกับกระบวนการในส่วนของ B2G และ G2G ซึ่งดำเนินการภายใต้ NSW
2. การเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มประเทศคู่ค้า
สำหรับการดำเนินการของ Phase 1 หรือการรองรับรายการส่งออก และนำเข้า ที่ทำการค้ากับคู่ค้าในประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์ สำหรับวิธีการชำระเงินในรูปแบบ Open Account และการตรวจสอบเอกสารที่นำมาใช้ในการขอสินเชื่อ โดยมีเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย
o เอกสารทางการค้าที่ผู้ส่งออกและนำเข้าจัดเตรียมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีโครงสร้างข้อมูลของเอกสารที่ ETDA พัฒนาจากมาตรฐานของ UN/CEFACT
o เอกสารอื่นๆ ทั้งหมดจะอยู่ในรูปแบบ PDF รวมทั้งเอกสารการขนส่งสินค้า
การพัฒนาและทดสอบคาดว่าแล้วเสร็จกลางเดือนสิงหาคมนี้ และคาดว่าพร้อมดำเนินรายการ Proof of Concept และ Pilot Live ตั้งแต่กลางเดือนกันยายน จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2565
เกี่ยวกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (ABAC)
สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (ABAC) ก่อตั้งขึ้นโดยผู้นำเอเปคในปี พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นกระบอกเสียงหลักของภาคธุรกิจในเอเปค แต่ละเขตเศรษฐกิจมีสมาชิก 3 ท่าน ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้นำของตน สมาชิกจาก 21 เขตเศรษฐกิจจะประชุมกันปีละ 4 ครั้งเพื่อเตรียมนำเสนอข้อเสนอแนะในการเจรจาครั้งสำคัญกับวาระการประชุมผู้นำประจำปี
ด้วยการนำของประเทศไทย ที่ในปี 2022 สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคได้รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพการประชุม พร้อมแนวทางประจำปีภายใต้หัวข้อ “Embrace. Engage. Enable” เพื่อตอบสนองต่อความท้าทายในการดำรงความอยู่รอดของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกๆคน
กลยุทธ์ 5 ด้านของ APEC Business Advisory Council 2022 (ABAC 2022)
กลยุทธ์หลัก 5 ด้าน และคณะทำงานเฉพาะ 5 กลุ่ม ของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค ประกอบด้วย
1. Regional Economic Integration Working Group ประกอบด้วย
• ความคืบหน้าสู่การบรรลุข้อตกลงด้าน FTAAP
• การสนับสนุน WTO และสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีตามกฎ
• การเสริมสร้างการค้าบริการและการลงทุน
• การเสริมสร้างการเปิดพรมแดนอีกครั้งเพื่อการเดินทางที่ปลอดภัยและราบรื่น
2. Digital Working Group ประกอบด้วย
• การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล
• การเร่งการนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า
• การขยายโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่สำคัญเพื่อเร่งความเร็วของระบบดิจิทัลของเศรษฐกิจและการรวมเข้ากับระบบดิจิทัล
3. MSME and Inclusiveness Working Group ประกอบด้วย
• ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลต่อกลุ่ม MSMEs
• การยกระดับการผนวกรวมเข้าด้วยกัน ผ่านการส่งเสริมผู้หญิงในการมีอำนาจทางเศรษฐกิจ
• ส่งเสริมการปฏิบัติที่ยั่งยืน
• การสร้างความสามารถทางการเงินของ MSMEs
4.Sustainability Working Group ประกอบด้วย
• การสร้าง Next zero economy และส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสีเขียวในเอเปค
• การก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางพลังงานที่สู่ความเป็นคาร์บอนต่ำในเอเปค
• ส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืน
5.Finance and Economics Working Group ประกอบด้วย
• ส่งเสริมการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและยั่งยืน
• การพัฒนากรอบความร่วมมือภาครัฐ-เอกชนเพื่อการถ่ายโอนความเสี่ยงจากโรคระบาด
• การจัดหาเงินทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืน
• การสร้างระบบนิเวศที่เอื้ออำนวยด้านการเงินดิจิทัล
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.abac2022.org

ไม่มีความคิดเห็น