ถอดบทเรียนการจัดการทรัพย์สินและธุรกิจครอบครัวเมื่อเจอ ‘ศึกภายใน’ศึกษา-สื่อสาร-ส่งต่อ ช่วยลดความขัดแย้ง เพิ่มประสิทธิภาพการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืน
เมื่อพูดถึงเรื่องของการบริหารจัดการทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่มีทรัพย์สินมากหรือน้อยก็มีโอกาสเกิดความขัดแย้งได้พอๆกัน สาเหตุหลักมาจากครอบครัวไม่เห็นความสำคัญจากศึกภายใน ด้วยความคิดที่ว่าสมาชิกรักใคร่กันดีไม่มีปัญหา ขนบธรรมเนียมที่ครอบครัวปฏิบัติสืบกันมาเป็นสิ่งที่สมาชิกทุกรุ่นยอมรับได้ หรือการส่งต่อทรัพย์สินเป็นเรื่องของรุ่นผู้ให้อย่างเดียวไม่จำเป็นต้องฟังความคิดเห็นของรุ่นผู้รับ ความคิดเหล่านี้ทำให้ครอบครัวขาดการวางแผนและสื่อสาร จนเป็นที่มาของความขัดแย้งไม่ว่าในรุ่นเดียวกันหรือระหว่างรุ่น พี่น้องรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรม ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ลำเอียง ในอีกด้านหนึ่ง พ่อแม่รู้สึกว่าลูกหลานไม่เชื่อฟัง ไม่สามัคคีกัน บ่มเพาะและนำไปสู่การล่มสลายของธุรกิจครอบครัว ทั้งนี้ ธุรกิจครอบครัวมีความสำคัญและเป็นรากฐานของเศรษฐกิจโลก จากข้อมูลระบุว่า 2 ใน 3 ของบริษัททั่วทุกประเทศเป็นธุรกิจครอบครัว ซึ่งสร้างรายได้กว่า 70% ของ GDP โลก[1] ในขณะที่ประเทศไทย ธุรกิจครอบครัวมีสัดส่วนสูงที่ 60% ของ GDP1ด้วยเหตุนี้เอง องค์กรและสถาบันด้านการศึกษาชั้นนำต่างๆ จึงมีความพยายามในการให้ความรู้และเสนอแนะแนวทางในการสร้างความยั่งยืนผ่านการสืบทอดธุรกิจครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น กรณีศึกษาแรกเป็นภาพยนตร์ไทยที่กำลังถูกกล่าวถึง ที่บอกเล่าเรื่องราวสะท้อนวิถีชีวิตของครอบครัวไทยเชื้อสายจีนที่แม้จะไม่ได้เป็นครอบครัวร่ำรวยหรือมีธุรกิจ แต่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาคลาสสิกจากการส่งต่อทรัพย์สินระหว่างคน 3 รุ่น เมื่อ “อาม่า” มีแนวคิดในการส่งต่อทรัพย์สิน 2 ประการ ได้แก่ขนบธรรมเนียมและความจำเป็น ในมุมของอาม่า ขนบธรรมเนียมเป็นสิ่งที่หล่อหลอมอาม่ามาทั้งชีวิต อาม่าจึงยึดถือการยกมรดกให้กับลูกหรือหลานชายเท่านั้น ในส่วนของความจำเป็น หนังได้ถ่ายทอดมุมมองของอาม่าที่เห็นลูกชายคนเล็กเป็นคนไม่เอาถ่าน คนเป็นแม่จึงต้องยกมรดกให้เพื่อความอยู่รอดของลูกชายคนนี้ สำหรับอาม่าแล้ว แผนในการส่งต่อทรัพย์สินที่วางไว้จึงชอบด้วยประการทั้งปวง ในส่วนมุมมองของผู้รับกลับแตกต่างออกไป ลูกชายคนโตของอาม่ามองว่าลูกที่ดูแลชีวิตตัวเองได้ดีควรมีส่วนแบ่งจากมรดกมากที่สุด ส่วนหลานชาย ในฐานะของทายาทลูกสาวของอาม่า ก็เกิดมาในยุคที่เงินทองมีค่ามากกว่าค่านิยมของครอบครัว ในมุมของลูกและหลานชาย ความคิดของเขาก็ไม่ผิดเช่นกัน ความถูกต้องในมุมที่ต่างกันนี้เองกลายเป็นชนวนแห่งความขัดแย้ง หากอาม่าสื่อสารกับลูกหลานอย่างใกล้ชิดมาตลอด ได้ส่งต่อค่านิยมของครอบครัว แบ่งปันแผนการในชีวิต รับฟังความเห็นของทุกคนแล้วเอามาประมวลเพื่อหาแนวทางที่อาม่าและทุกฝ่ายพอใจ เชื่อว่าจะเป็นกุญแจในการแก้ไขปมปัญหาผ่านการพูดคุยสื่อสารกัน การวางแผนจัดสรรมรดกอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง ซึ่งจะช่วยให้เรื่องนี้จบลงอย่างมีความสุขได้อย่างแน่นอนกรณีศึกษาที่สอง เป็นเคสที่มีความยุ่งยากขึ้นอีกระดับหนึ่งเมื่อครอบครัวมีธุรกิจที่ต้องการส่งต่อด้วย จากที่มีกระแสข่าวแบรนด์บะหมี่เฟรนไชน์ที่หลายๆ คนคุ้นเคยแบรนด์หนึ่ง กำลังเตรียมบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (การทำ IPO) โดยให้เหตุผลว่ากลัวรุ่นลูกจะทะเลาะกัน ทั้งนี้ การวางกติกาของครอบครัวให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการส่งต่อหุ้น การคัดเลือกผู้บริหาร บทบาทของสมาชิกของครอบครัวในธุรกิจ ให้สมาชิกทุกคนได้รับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ ก็เพียงพอแล้วที่จะป้องกันการเกิดความขัดแย้งระดับหนึ่ง ประกอบกับถ้ามีการปรับธุรกิจให้เป็นระบบ มีการตรวจสอบ ทำให้สมาชิกของครอบครัวรุ่นใหม่สนใจที่จะเข้ามาร่วมทำงาน และดึงดูดให้มืออาชีพเข้ามาบริหารงานของธุรกิจครอบครัวได้ ในกรณีที่ไม่มีลูกหลานทำต่อ หรือลูกหลานไม่เชี่ยวชาญพอที่จะแข่งกับมืออาชีพในตลาด ก็จะส่งเสริมความยั่งยืนให้ธุรกิจครอบครัวยังคงเป็นของครอบครัว แทนการไปให้คนอื่นเข้ามาร่วมถือหุ้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจที่ควรทำ IPO เพื่อนำเข้าตลาดหลักทรัพย์นั้น เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการระดมทุนเท่านั้น
กรณีศึกษาที่สาม เป็นกรณีที่เกิดในต่างประเทศที่พบว่าธุรกิจครอบครัวเจ้าของแบรนด์ดังมากที่สุดของโลก แม้ต้นตระกูลจะพัฒนาแบรนด์สินค้าอายุหลักร้อยปีให้เติบโตได้ไกลกว่าจุดเริ่มต้นไปมากขนาดไหน แต่หากมีความอ่อนแอในระบบการบริหารจัดการของครอบครัว ก็อาจส่งผลให้กิจการถูกควบรวม จึงกลายเป็นธุรกิจที่มีแต่ชื่อ ครอบครัวผู้ก่อตั้งก็ไม่ได้มีส่วนในการบริหารธุรกิจอีกต่อไป และทำให้ตระกูลที่ได้กิจการไปกลายเป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นๆ ของโลก โดยล่าสุดจะเห็นบทความที่เล่าถึงการปลูกฝังให้รุ่นลูกดูแลธุรกิจร่วมกันอย่างปรองดอง รวมถึงข่าวที่มหาเศรษฐีรุ่นพ่อของแบรนด์ดังนี้เตรียมวางแผนเพื่อให้การส่งต่อธุรกิจครอบครัวไปสู่รุ่นลูกอีกด้วยจากทั้ง 3 กรณีศึกษาจะเห็นได้ว่าการเตรียมความพร้อม และวางแผนเพื่อส่งต่อทรัพย์สินและธุรกิจครอบครัวเป็นหัวใจสำคัญที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัว และสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ อีกทั้งจะเป็นตัวช่วยลดความรุนแรงจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคตได้
นายพีระพัฒน์ เหรียญประยูร Managing Director – Wealth Planning and Non Capital Market Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า จากทั้ง 3 กรณีศึกษามีรายละเอียดเฉพาะตัวและความท้าทายที่แตกต่างกัน แต่ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะมีทรัพย์สินมาหรือน้อย ขนาดของธุรกิจครอบครัว หรือจะทำธุรกิจในด้านใดก็ตามควรมีการวางแผนเพื่อเก็บรักษาและส่งต่อทรัพย์สินและธุรกิจครอบครัวได้อย่างยั่งยืน โดยมองว่ามี 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ (1) การสร้างกติกาของครอบครัวและการสืบทอดธุรกิจอย่างเป็นระบบ (Family Continuity Planning) เริ่มต้นจากการวางกติกาของครอบครัว เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวเข้าใจสิทธิ หน้าที่และกระบวนการในการตัดสินใจเรื่องต่างๆร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างสมาชิก (2) การจัดโครงสร้างการถือครองทรัพย์สินของครอบครัว (Asset Holding Structures) เช่น การปรับโครงสร้างให้สอดคล้องกับแผนและกติกาของครอบครัว วางระบบการบริหารจัดการภายในให้ข้ามผ่านความเป็นธุรกิจครอบครัว เพื่อให้สมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไปเข้ามารับช่วงต่อหรือเพื่อจูงใจให้มืออาชีพเข้ามาร่วมบริหาร (3) การวางแผนการส่งต่อทรัพย์สินจากรุ่นสู่รุ่น (Inheritance and Wealth Transfer) เน้นการสื่อสาร ให้ทายาทรุ่นต่อไปมีส่วนร่วม มีการถ่ายถอดความรู้เป็นระบบ เพื่อให้การส่งต่อความมั่งคั่งเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ บางครอบครัวอาจจะใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่น การจัดตั้งทรัสต์ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต เป็นต้น มาใช้ประกอบในการวางแผนการส่งต่อความมั่งคั่งตามโจทย์ของครอบครัวด้วย
“การวางแผนเพื่อส่งต่อทรัพย์สินและธุรกิจครอบครัวจะสร้างรากฐานที่แข็งแกร่ง และเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงสามารถรับมือความท้าทายทั้งภายในภายนอกได้ KBank Private Banking ในฐานะผู้ให้บริการไพรเวทแบงก์ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน ‘บริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัว’ (Family Wealth Planning Service) พร้อมนำความรู้และประสบการณ์ในระดับสากลของธนาคารพันธมิตร Lombard Odier มาเป็นทางเลือกให้ลูกค้าสามารถวางแผนบริหารทรัพย์สินในองค์รวม และเดินหน้าธุรกิจครอบครัวได้อย่างราบรื่นพร้อมกับการเติบโตอย่างยั่งยืน” นายพีระพัฒน์ กล่าวปิดท้าย
ไม่มีความคิดเห็น