Breaking News

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เสนอ “ทัวร์คนละครึ่ง”แก่รัฐบาลเพื่อกระตุ้นท่องเที่ยวไทย 1 แสนล้านบาท เพิ่มมูลค่า 2 เท่า จาก Digital Wallet

สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไตรมาส 1/2567 โดยรวมดีขึ้นจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว สะท้อนสถานการณ์ท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมาก แต่สูงที่สุดในรอบ 4 ปี พร้อมเสนอรัฐบาลจัด Campaign ทัวร์คนละครึ่งจาก Digital Wallet เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ เงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มมูลค่าเป็น 2 เท่าจากเงิน Digital Wallet 1 แสนล้านบาท และนักท่องเที่ยวจากเพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท เพิ่มเป็น 2 แสนล้านบาท และต่อยอด Ignite Thailand เสนอใช้ Tourism Hub เชื่อมโยง 7 เสาหลัก กระจายรายได้ทั่วประเทศ

นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เป็นประธานแถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไตรมาส 1/2567 พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ผกากรอง เทพรักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย นายกิตติ พรศิวะกิจ ประธาน Smart Tourism สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมแถลง โดยมี นายสุทธิพงศ์ เผื่อนพิภพ รองประธานประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายโสพนา บุญสวยขวัญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายเทิดศักดิ์ ตั้งกิจตรงเจริญ ผู้ช่วยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นายกฤติเดช ทองเพิ่ม ผู้ช่วยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และนายจีระยุ จารุกิตติวรกานต์ กรรมการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้เกียรติร่วมงาน

นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า “ก่อนอื่นต้องขอ สวัสดีสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไตรมาส 1/2567 แสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวโดยรวมดีขึ้นจากไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ทำให้เป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติ 40 ล้านคน รายได้ 2.3 ล้านล้านบาท รวมกับรายได้จากไทยเที่ยวอีก 1.2 ล้านล้านบาท รวมเป็น 3.5 ล้านล้านบาท เป็นไปได้มากขึ้น แต่ทางรัฐบาลจะต้องออกมาตรการมากระตุ้นการท่องเที่ยวมาร่วมด้วย อย่างเช่นมาตราการ ฟรีวีซ่า ซึ่งได้ผลอย่างมาก เช่นประเทศไต้หวันพอเปิดฟรีวีซ่าแล้ว นักท่องเที่ยวสะสมรวมถึงเดือนมีนาคม ขึ้นมาเป็นอันดับ 10 แล้ว
การพูดคุยพบปะกับสมาชิกจากลงพื้นที่ ทั้งในและต่างประเทศมา 6 เดือนก่อนหน้านี้ เพื่อรวบรวมความต้องการของสมาชิก เสนอไปยังรัฐบาล อย่างเช่น นักมวยต่างชาติที่มาเรียนมวยไทย ต้องการอาศัยอยู่ในประเทศไทยระยะยาวขั้นตำ่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ถ้าออกวีซ่าให้เขาได้ ก็เป็นการนำรายได้เข้าประเทศอีกทาง และเป็นการส่งเสริม Soft Power ของเราอีกช่องทาง
ผมเพิ่งไปดูงานที่ประเทศสิงคโปร์มา ในช่วงโควิดเขาปรับปรุงพัฒนา Renovate เกาะ Sentosa ซึ่งในอดีตเป็นเมืองร้าง ให้กลับมาเป็นเมืองที่สวยงาม ต้นไม้ใหญ่ เงียบสงบ ลิงที่เคยอาศัยอยู่เยอะบนเกาะ ก็จับไปปล่อยที่เกาะอื่น และเปิดเกาะ Sentosa เป็นแหล่งท่องเที่ยว High end ให้นักท่องเที่ยวเขามาพักอาศัยอยู่แบบ Slow Life ตามกลางธรรมชาติที่สวยงาม เมืองสะอาดปลอดภัย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน มีรถไฟฟ้า monorail วิ่งบริการรอบเกาะ เข้าใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส แต่ช่วงโควิดเราไม่ได้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเราเลย เรื่องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวผมก็จะนำเสนอรัฐบาลด้วย
ส่วนเรื่องแบงค์ชาติจะลดดอกเบี้ยหรือไม่นั้น ผมคิดว่ามันไม่มีผลกระทบกับผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวเลย แต่ที่มันมีผลกระทบนั้นก็คือ การที่เราเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนต่างหาก ซึ่งผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวรายเล็กย่อยของเราก็เรียกร้องมาตั้งแต่แล้ว ที่ผ่านมา SME แบงค์ ก็เข้ามาช่วยได้ส่วนหนึ่ง แต่ปัญหาหลักมันอยู่ที่ ผู้ประกอบการโรงแรมขนาดเล็ก ไม่มีใบอนุญาต ถ้าเราทำให้เขามีใบอนุญาตประกอบการได้ง่ายขึ้น เขาก็สามารถถึงแหล่งเงินได้ง่ายขึ้นเช่นกัน
รายได้จากการท่องเที่ยวเท่ากับ 20% ของ GDP เป็นเงิน 1 แสนล้านบาท จะเสนอรัฐบาลจัด Campaign ทัวร์คนละครึ่ง เอาจาก Digital Wallet 20% 1 แสนล้านบาท จาก 5 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ ให้เงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มมูลค่าเป็น 2 เท่าจาก ไม่ต้องกลัวว่าเงินจะหายไปจากระบบ และไม่มีผลผัพธ์กลับคืนมา มันจะไม่เป็นอย่างนั้น ตรงกันข้ามจะมีเงินในระบบเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะนักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเงินซื้อทัวร์ หรือห้องพัก อีกครึ่งหนึ่ง นักท่องเที่ยวจากเพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท รวมเป็น 2 แสนล้านบาท GDP จะโตเพิ่มอีก 0.5% และสามารถกำหนดเป้าหมาย ให้กระจายรายได้ไปยังเมืองรองได้ด้วย”
รองศาสตราจารย์ผกากรอง เทพรักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย แถลง “ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวไตรมาส 1/2567 อยู่ที่ระดับ 81 เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4/2566 ที่ระดับ 77 และไตรมาส 1/2566 ที่ 74 สะท้อนสถานการณ์ท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปกติมาก แต่สูงที่สุดในรอบ 4 ปี แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น (86) มีสถานการณ์ท่องเที่ยวเป็นบวกมากกว่าธุรกิจประเภทอื่น รองลงมาเป็นธุรกิจที่พักแรมและบริษัทนำเที่ยว (85) ส่วนร้านขายของฝาก/ของที่ระลึกและสถานบันเทิง (75) มีความเชื่อมั่นต่ำกว่าธุรกิจประเภทอื่น ภาคใต้ (86) สถานการณ์ท่องเที่ยวเป็นบวกมากกว่าภูมิภาคอื่น รองลงมาเป็นภาคตะวันออก (84) และภาคเหนือ (83) ตามลำดับ ส่วนภาคกลาง (77) สถานการณ์ท่องเที่ยวต่ำกว่าภูมิภาคอื่น
มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9.37 ล้านคน เพิ่มขึ้น 44% จากปีที่แล้ว ไทยเที่ยวไทยมากกว่า 50 ล้านคนครั้ง สร้างรายได้รวมประมาณ 6.5 แสนล้านบาท คาดว่าทั้งปีจะมีนักท่องเที่ยวประมาณ 34 – 36 ล้านคน รายได้ 2.5 ล้านล้านบาท ในเชิง Demand ยังมีโอกาส ที่จะเพิ่มรายได้เป็น 3.0-3.5 ล้านล้านบาท ปัจจัยความสำเร็จขึ้นกับยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลจะใช้ ทั้งในเชิงงบประมาณและการสร้างความพร้อมของผู้ประกอบการ วันนี้เรามีความท้าทายเร่งด่วน 4 ข้อ คือ PM2.5 / ทักษะคนท่องเที่ยว / ค่าตั๋วเครื่องบินแพง และ การแข่งขันในช่วง Green Season ไตรมาส 2-3 ที่หลายประเทศอัดแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างดุเดือดอัตราการเข้าพักในธุรกิจที่พักแรมในภาพรวมร้อยละ 60 น้อยกว่าไตรมาส 4/2566 โดยภาคใต้มีอัตราการเข้าพักสูงที่สุด (ร้อยละ 72) รองลงมา ภาคตะวันออก (ร้อยละ 64) ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเข้าพักน้อยที่สุด (ร้อยละ 51) ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาส 2/2567 จากผู้ประกอบการทั่วประเทศ อยู่ที่ระดับ 83 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นถึงสถานการณ์ท่องเที่ยวไตรมาสนี้จากช่วงเทศกาลสงกรานต์”
นายกิตติ พรศิวะกิจ ประธาน Smart Tourism สทท. กล่าวว่า “เพื่อมุ่งเป้าสู่รายได้การท่องเที่ยว 3.5 ล้านล้านบาท และต่อยอดนโยบาย Ignite Thailand สทท.มีข้อเสนอต่อรัฐบาล 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ Ignite X ใช้ Tourism Hub เป็นแกนกลาง เชื่อมโยง อีก 7 เสาหลัก เพื่อ เพิ่มมูลค่า และกระจายรายได้ เช่น T X H = Health Tourism ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กีฬาและผู้สูงวัย / T X A = AgroTourism ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชน และอาหารท้องถิ่น / T
2. ยุทธศาสตร์ 4 สมดุล (1) สมดุล เมืองหลัก เมืองรอง กระจายรายได้สู่เมืองรอง โดย ใช้ 3 แกน บริษัทนำเที่ยว อินฟลูเอนเซอร์ และ แพลทฟอร์ม ใช้เมืองที่มีสนามบินนานาชาติเป็นเมืองหลัก ใช้รถบัส รถตู้ รถไฟ เครื่องบินโลคัล เป็นเครื่องมือกระจายนักท่องเที่ยว (2) สมดุล เล็ก– ใหญ่ ต้องจัดสรรงบประมาณ ส่งเสริม SME ให้มีพลังกลับมาขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสำหรับ 40 ล้านคน ลด K Shape (3) สมดุล Natural – Manmade + Event ลดการพึ่งพาธรรมชาติ สร้าง Manmade ในอุทยาน + Mega Event ในเมืองใหญ่ + D MICE ในเมืองรอง (4) สมดุล Quick Win – Sustainable Win ต้องปลูกป่าและทำฝนเทียมไปพร้อมกัน ต้องยกระดับเรื่อง Green ไปพร้อมกับ การ growth hacking ชี้เป้าพานักท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เป้าหมาย ในวัน weekday
3. ยุทธศาสตร์ 4 เติม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ Supply-side เพื่อ เติมทุน เติมลูกค้า เติมความรู้ เติมนวัตกรรม (1) เติมทุน 5,000 ล้านบาท เสริมสภาพคล่อง SME แบบเข้าถึงได้ อนาคตต่อยอดเป็นกองทุน Smart Tourism และธนาคารเพื่อการท่องเที่ยว (2) เติมลูกค้าแบบมุ่งเป้า ตาม ชาติ วัย ความสนใจ เช่น Digital Wallet สำหรับการท่องเที่ยว / ข้าราชการเที่ยวไทย / เมืองเกษียณโลก / LGBTQ / Tourism For All / ท่องเที่ยวเชิงอาหาร / สายมู / VISA Asean / VISA มวยไทย / Friend of Thailand เช่น โรเจอร์ เฟดเดอร์เรอร์ (3) เติมความรู้ ยกระดับทักษะบุคลากรทางการท่องเที่ยว และผู้ประกอบการ / ทำ workshop สร้างสินค้าและเส้นทางที่ตอบโจทย์ยุคใหม่ (4) เติมนวัตกรรม เช่น การใช้ Canva / Generative AI / Live / B2B / Web API / VR360 / Tiktok / Reels / Big Data
4. ยุทธศาสตร์ 4 สงคราม เร่งด่วน (1) แก้ปัญหา PM2.5 ทั้งการปราบปราม และใช้ภาคท่องเที่ยวส่งเสริมการใช้วัตถุดิบที่เหลือเช้ามาสร้างมูลค่าเพิ่ม (2) Safety Trust ยกระดับความปลอดภัยทุกมิติ ก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ หลังเกิดเหตุ ทั้งด้านการป้องกันจากการตรวจสภาพรถ เรือ อาคาร / การฝึกอบรมบุคลากรเพื่อความปลอดภัย / มาตรฐาน Food Safety / การแจ้งเหตุผ่านเครือข่าย 5G / การรักษาพยาบาลได้ทุก ร.พ. (3) Cyber – Fake Web Page ทัวร์ทิพย์ ปราบปรามเว็บหลอกลวง ให้โอนเงินค่าจองโรงแรม ค่าทัวร์ และสินค้าของฝาก (4) Nominee – Fake Guide ปราบปรามขบวนการนอมินีและไกด์เถื่อนอย่างจริงจัง มีการให้รางวัลกับผู้แจ้งเหตุ และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด



ไม่มีความคิดเห็น