Breaking News

ท่องเที่ยวบนเส้นทางท่องเที่ยวแสวงบุญ จ.ราชบุรี

นักท่องเที่ยวบางคนอาจจะยังไม่รู้ว่า “จังหวัดราชบุรี” ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากนัก เป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ เพราะมีทั้งชาวไทยดั้งเดิม ชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยวน (อ่านว่า ไท-ยวน) ชาวไทยมอญ ชาวไทย เขมร ชาวไทย ลาวเวียง ชาวไทย กะเหรี่ยง และชาวไทดำ(ไทยทรงดำ หรือชาวโซ่ง) ที่มีประเพณีและวัฒนธรรมที่ส่งทอดต่อมายังคนรุ่นหลังที่อาศัยอยู่ชุมชนต่างๆ อีกทั้งยังมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวลุ่มแม่น้ำกลอง อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ของขุนเขาตะนาวศรี ทำให้นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบกลิ่นอายความเป็นชุมชน ยลวิถีชีวิตและธรรมชาติ ได้เลือกเดินทางมาท่องเที่ยวยังราชบุรี

“เมืองราชบุรี” เดิมเรียกเมืองชยราชบุรี เป็นเมืองประเภทหัวเมือง ตั้งมาแต่สมัยทวารวดี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี ต่อมา เมื่อเส้นทางสัญจรทางน้ำ ตื้นเขิน จึงย้ายมาลง ณ ตำแหน่งที่เป็นวัดมหาธาตุวรวิหารในปัจจุบัน เมืองชยราชบุรีเดิม คูเมืองตื้นเขินมีบัวขึ้นเป็นส่วนใหญ่ จึงเรียกว่า“คูบัว “ ตั้งอยู่ในตำแหน่งใหม่นี้ ปลายทวารวดี ตลอดสมัยเขมรยุคต้น เขมรยุคปลาย สุโขทัย อยุธยา จนถึงต้นรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงย้ายเมืองไปอยู่ ณ ฝั่งตรงกันข้าม ที่เป็นค่ายภาณุรังษีในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์ จนถึงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงตัดทางรถไฟผ่านกลางใจเมือง จึงได้โปรดให้ย้ายกลับมาอยู่ แม่กลองฝั่งขวา ที่เป็นตลาดในปัจจุบันนี้
การเดินทางมาท่องเที่ยวในจ.ราชบุรีของลุงหนวดในครั้งนี้เพื่อมาสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในจ.ราชบุรีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ซึ่งลุงหนวดจะพาท่านผู้อ่านไปสักการะบูชามีดังต่อไปนี้

- โรงเจเล่าซินเฮงตั๊ว (ศาลเจ้าพ่อกวนอู)
ศาลเจ้าพ่อกวนอู เป็นศาลเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองราชบุรีมากว่า 100 ปี สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2414 เจ้าพ่อกวนอูเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ อดีตขุนพลนักรบผู้เก่งกาจสมัยเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ศาลเจ้าพ่อกวนอูแห่งนี้เป็นอีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญของเมืองราชบุรี เพราะรับพลังมังกรจากสายน้ำแม่กลอง และองค์ศาลเจ้าพ่อกวนอูเปรียบกังเง็กเซียนฮ่องเต้ที่จะช่วยให้ผู้มาอธิษฐานขอพรสำเร็จสมหวัง หากทำดีประพฤติปฏิบัติดี


นอกจากองค์เจ้าพ่อกวนอูที่เป็นเทพเจ้าประธานของที่นี่แล้ว ภายในศาลแห่งนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ อาทิ 2 องค์เทพเท้าที่ประทับอยู่ซ้าย-ขวา ขององค์เจ้าพ่อกวนอู คือ “เทพเจ้าลือโจวเซียนซือ” (ซ้าย) และ เทพเจ้าเอี่ยมกวงไตตี (ขวา), ป้ายคำสรรเสริญ, ตู้ไม้เก็บป้ายวิญญาณ และภาพวาดปูนปั้นฝาผนัง สามพี่น้อง เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย


วัดมหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี
ประวัติ วัดมหาธาตุวรวิหาร
วัดมหาธาตุวรวิหาร หรือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดหน้าพระธาตุ นี้ เป็นวัดเก่าแก่ และ วัดดัง ที่ตั้งอยู่บนถนนเขางู ตำบลหน้าเมือง ในเมืองราชบุรี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งสันนิษฐานกันว่าวัดนี้ น่าจะสร้างในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 หรือประมาณในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งเขมรนั่นเองครับ

โดยมีการสร้างปราสาทศิลปะเขมรซ้อนทับเข้าไปราวพุทธศตวรรษที่ 18 เพื่อสร้างที่นี่ให้เป็นศูนย์กลางของเมือง ตามความเชื่อในเรื่องคติจักรวาลของเขมร แต่ภายหลังจากนั้นปราสาทที่สร้าง ก็คงเกิดการพังทลายลง เลยได้มีการสร้างปรางค์ใหม่ในสมัยต้นอยุธยา หรือราวพุทธศตวรรษที่ 20-21



ไฮไลท์ ของ วัดมหาธาตุวรวิหาร
ทำให้ปัจจุบันนั้นภายในวัดมหาธาตุวรวิหาร แห่งนี้ ก็จะมีทั้ง วิหารหลวง ที่ประดิษฐานพระมงคลบุรี พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น ที่มีพระพักตร์สุโขทัยพระองค์ยาวพระชาณุสั้น คือตัวยาวเข่าสั้น หันหน้าสู่ทิศตะวันออกด้านหลัง และมีการสร้างพระหันหลังให้กันอีกองค์หนึ่ง หันหน้าสู่ทิศตะวันตก หมายถึงอาราธนาให้ช่วยระวังภัยพิบัติหน้าหลังเรียกพระรักษาเมืองตามความเชื่อของคนสมัยอยุธยาและพระปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงสูง 12 วา มีจิตรกรรมฝาผนังที่พระปรางค์ และเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วยเช่นกันค่ะ รวมไปถึง วิหารราย แท่นถือน้ำสาบาน กำแพงแก้ว มณฑป เป็นต้น นี่เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นนะคะ ใครอยากมาเห็นความงดงามด้วยตาตัวเอง ก็ต้องเดินทางมาที่ ราชบุรี






วัดมหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี ตั้งอยู่ที่ : ถนนเขางู ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พิกัด : https://goo.gl/maps/ZXdNttEDLn8wxH17A
เปิดให้เข้าชมฟรี : ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น.


วัดนาหนอง ตั้งอยู่เลขที่ 38 บ้านนาหนอง หมู่ที่ 2 ตำบลดอนแร่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดนาหนอง ได้สร้างขึ้นและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2430 โดยนายหล้า นายตั๋น ร่วมกับชาวบ้านนาหนอง เป็นผู้ริเริ่มสร้าง มีเจ้าอาวาสวัดปกครองมาแล้ว 5 รูป ปัจจุบันมีพระครูสิริคณาภรณ์ (อเนก) เป็นเจ้าอาวาส มีเสนาสนะสมบูรณ์แบบเกิดขึ้นในสมัยพระครูวิธานศาสนกิจ (หลวงพ่อโห้) เจ้าอาวาสรูปที่ 2 ได้สร้างมณฑปบนยอดเขาซึ่งติดอยู่กับวัด ไว้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท และพระพุทธไสยาสน์ โดยคุณหลวงและนางฤทธิ์ศักดิ์ชลเขต อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี คนที่ 6 ซึ่งมีบ้านเกิดอยู่ติดกับวัดนาหนอง ได้สร้างรอยพระพุทธบาท มาประดิษฐานไว้ในมณฑปบนยอดเขา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2481 และได้กำหนดจัดงานปิดทองพระพุทธบาทประจำปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี จนกลายเป็นงานเทศกาลประจำปีของวัด มาเป็นเวลายาวนานถึง 72 ปี และในปี 2552 ทางวัดนาหนอง ได้รับการอนุมัติจากเถรสมาคม ให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรม หน่วยที่ 7 ของจังหวัดราชบุรี นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไท-ยวน และศูนย์หัตกรรมทอผ้าพื้นบ้านราชบุรีอีกด้วย

หนึ่งในชุมชนที่มีทุนวัฒนธรรมในการท่องเที่ยว อย่าง ชุมชนวัดนาหนอง ต.ดอนแร่ อ.เมือง จ.ราชบุรี ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไท-ยวน มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อย่างต๋าหลาดไท-ยวน ที่ใครมาราชบุรีต่างก็ต้องมาแวะช้อปซื้อผ้าจก เอกลักษณ์ของชาวไทยวน ชิมอาหารหลากหลาย แต่นอกจากตลาดแล้วที่นี่ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งหมดล้วนเกิดขึ้นจากการร่วมมือกันของคนในชุมชนเพื่อสร้างรายได้เสริม นอกจากการทำเกษตรกรรม จนได้ถูกยกให้เป็นชุมชนคุณธรรมวัดนาหนอง

ชุมชนคุณธรรมวัดนาหนองแห่งนี้ เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางของชาวบ้านชุมชนบ้านดอนแร่จริงๆ โดยภายในวัดมีพื้นที่ประกอบพีธีกรรมทางศาสนาปกติเหมือนวัดทั่วไปแล้ว ยังมีโรงเรียนปริยัติธรรม อาคารพิพิธภัณฑ์เก็บวัตถุของเก่าชาวไท –ยวน หรือปูชนียวัตถุมีประธานประจำอุโบสถ พระพุทธชินราชจำลอง รวมไปถึงหากใครมีพลังกำลังก็สามารถเดินขึ้นบันไดกว่า 100 ขั้น สักการะรอบพระพุทธบาทที่ประดิษฐานบนยอดเขา ที่มีอายุกว่า 80 ปี ภายในวัดยังเป็นที่ตั้งของศูนย์หัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้าน เราได้เข้าไปเยี่ยมชมภายในศูนย์ซึ่งมีการจัดแสดงผ้าจก ลวดลายต่างๆ จากแหล่งกำเนิดที่บ้านดอนแร่ เพราะที่จ.ราชบุรีมีผ้าจกที่มีแหล่งกำเนิดอีก 2 แห่งคือ ที่คูบัว และที่หนองโพ-บางกระโด








การเดินทาง : จากสี่แยกเขาแก่นจันทน์(แยกห้วยไผ่) อ.เมืองราชบุรี ขับรถมาทางป้ายชี้ไปสวนผึ้งขับมาประมาณ 3.4 กม.ผ่านสนามราชบุรีมิตรผลสเตเดี้ยม มาอีกหน่อยจะพบป้ายบอกทางมาตลาดให้เลี้ยวซ้าย ขับเข้าไปอีก 3 กม.จะถึงต๋าหลาดไท-ยวน วัดนาหนอง
ขอขอบคุณ
คุณกันตพงษ์ ธนเนืองโรจน์ นายกสมาคมส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย (สธทท.)

ไม่มีความคิดเห็น