Breaking News

ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โคราช จีโอพารค์ กับ อพท.ตอน 2

                    เช้าวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ 2565 อพท.ได้พาคณะสื่อมวลชนเดินทางมายังพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี ซึ่งมีโครงการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 แต่สามารถจัดสร้างเสร็จและสามารถจัดแสดงนิทรรศการได้ในปีพ.ศ. 2545 ภายในถูกแบ่งออกเป็น3โซนด้วยกันโซนแรกได้แก่


พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ไม้กลายเป็นหินสามารถพบได้ในเกือบทุกจังหวัดของภาคอีสาน จึงไม่สามารถนำไม้กลายเป็นหินทั้งหมดจำนวนมาก มาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ได้ ส่วนใหญ่จึงจัดไว้ในงานภูมิทัศน์ของพิพิธภัณฑ์โดยแยกเป็นโซนพื้นที่ของไม้กลายเป็นหินจังหวัดต่างๆ ขณะที่ภายในพิพิธภัณฑ์จะเน้นในส่วนของจังหวัดนครราชสีมา ตัวอย่างของไม้กลายเป็นหิน เช่น ไม้กลายเป็นหินเนื้ออัญมณี ไม้กลายเป็นหินตระกูลปาล์ม ไม้กลายเป็นหินหลากหลายอายุฯลฯ



โซนที่สองพิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ ก่อตั้งขึ้นเพราะพบว่า ในจังหวัดนครราชสีมามีซากช้างดึกดำบรรพ์จำนวนมาก และหลากหลายชนิดกว่าจังหวัดอื่นๆในประเทศไทย โดยพบในระดับลึกช่วง 5-40 เมตร จากพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลและสาขา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างหลายอำเภอ ได้แก่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ,โนนสูง,จักราช,พิมาย และอำเภอเมืองนครราชสีมา โดยเฉพาะตำบลท่าช้างเพียง 1 ตำบล พบช้างดึกดำบรรพ์ถึง 8 สกุล จาก 42 สกุลที่พบทั่วโลก มีอายุอยู่ในสมัยไมโอซีนตอนกลางถึงสมัยไพลสโตซีนตอนต้น(16-0.8 ล้านปีก่อน)

โซนที่สาม พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ก่อตั้งขึ้นเพราะพบว่า พื้นที่ตำบลโคกกรวดที่อยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑ์ หรือแม้กระทั่งตำบลสุรนารีที่เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ มีชิ้นส่วนกระดูก และฟันของไดโนเสาร์ กระจายอยู่ทั่วไปและพบต่อเนื่องบนพื้นที่กว้างขวางกว่า 28,000 ไร่ จำแนกเบื้องต้นได้ถึง 4 พวก คืออัลโลซอร์ พวกกินพืชขนาดใหญ่ที่คาดว่าอาจยาวถึง 10 เมตร, โซโรพอด พวกกินพืชขนาดใหญ่คาดว่ามีความยาวไม่ต่ำกว่า 15 เมตร,อิกัวโนดอนต์ พวกกินพืชขนาดกลางมีฟันคล้ายกิ้งก่าอิกัวน่า,แฮดโดรซอร์หรือไดโนเสาร์ปากเป็ด ไดโนเสาร์เหล่านี้มีอายุอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้น ประมาณ 100 ล้านปีก่อน





 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 044-3707-3940 ในวันเวลาราชการ
สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน อ.ขวัญอิสรา ภูมิศิริไพบูลย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารเเละยกระดับองค์กรสู่ธุรกิจเพื่อสังคม โทรศัพท์ 0840325032
จากนั้นเดินทางต่อมายังกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวท่าช้างโคราชจีโอพาร์คตำบลตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯประมาณ285 กิโลเมตร จากนั้นร่วมรับประทานอาหารแบบพื้นบ้านเช่นผัดหมี่ฯลฯหลังรับประทานอาหารเสร็จสรรพร่วมกันทำกิจกรรมสวนถาดจีโอพาร์คกิจกรรมที่สร้างโลกดึกดำบรรพ์ตามจินตนาการของแต่ละคนเป็นของที่ระลึกของชุมชนท่องเที่ยวท่าช้างให้นำกลับบ้านไป



 กิจกรรมการทำสวนถาดจีโอพาร์ค
- สวนถาดจีโอพาร์ค
- กิจกรรมการทำสวนถาดจีโอพาร์ค

- สวนถาดจีโอพาร์ค


- สวนถาดจีโอพาร์ค
 
-อาหารพื้นบ้านบ้านท่าช้าง
สำหรับในด้านการท่องเที่ยว สภาพของแหล่งท่องเที่ยวเป็นโครงการที่มีการพัฒนาแบบต่อเนื่องโครงการเดิมซึ่งได้มีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่ง ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวดังนี้คือ
-ไทรงาม ตั้งอยู่ริมฝั่งลำน้ำมูล บ้านใหม่ หมู่ที่12ตำบลท่าช้าง บนเนื้อที่8ไร่ มีอายุหลายร้อยปี มีความสวยงามมาก แผ่กิ่งก้านสาขาอวดสายตาแก่ผู้ได้พบเห็น ต่างออกปากชมว่าสวยและสมบูรณ์กว่าที่อื่นๆที่เคยพบเห็นมาในเทศบาลวันสงกรานต์ของทุกปี ชาวท่าช้างได้ร่วมกันจัดงานวันสงกรานต์ขึ้นที่บริเวณไทรงามตั้งแต่ พ.ศ2500จนถึงปัจจุบัน ซึ่งขณะนี้ทางอำเภอได้ปรับปรุงพื้นที่ไทรงามไว้รองรับนักท่องเที่ยวให้ได้รับความสะดวกและปลอดภัยในทุกๆด้าน




-ต้นไทรงาม


- แม่น้ำมูล
การเดินทางมาชมไทรงาม หากเดินทางจากตัวเมืองนครราชสีมา ตามถนนสายจักราชถึงหน้าที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ แล้วเลี้ยวซ้ายตามถนนคอนกรีตข้ามสะพานบ้านมะดันรัฐถึงโรงเรียนไทรงามเฉลิมพระเกียรติเลี้ยวขวาตามถนนลูกรังผ่านบ้านใหม่ แล้วก็ให้เลี้ยวขวาอีกครั้งตามทางรถยนต์ ระยะทางประมาณ 150เมตร ก็จะพบไทรงามระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 2 กิโลเมตร จากหน้าที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- ล่องแพแม่น้ำมูล เนื่องจากสภาพลำน้ำมูลมีน้ำตลอดปี สามารถรักษาปริมาณน้ำอย่างเพียงพอเนื่องจากมีเขื่อนยางกั้นน้ำ ทางอำเภอจึงได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนดำเนินการจัดล่องแพ ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน การล่องแพรับนักท่องเที่ยวจึงเกิดขึ้น มีนักธุรกิจในพื้นที่จำนวน2ราย จัดให้มีการล่องแพนำเที่ยวลำน้ำจากสะพานรถไฟถึงไทรงาม เพื่อชมแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ๆ และความงามของธรรมชาติริมฝั่งแม่น้ำมูล
- อนุสรณ์สถานข้างสะพานรถไฟ เป็นสะพานรถไฟ สำหรับข้ามลำน้ำมูล ตั้งอยู่ที่บ้านตะกุดขอน ตำบลท่าช้าง ในอดีตเมื่อวันที่ 4ธันวาคม พ.ศ. 2464พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรตรวจการก่อสร้าง และเสวยพระกระยาหาร ณ บริเวณกองอำนวยการควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งถือเป็นเกียรติประวัติศาสตร์และมหามงคลยิ่งแก่ไพร่ฟ้า และพสกนิกรของพระองค์ขณะนั้นและมีหลักฐานจารึกของอนุสรณ์ บริเวณเชิงสะพานจากเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวข้างต้น ชาวอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ควรที่จะได้มีการอนุรักษ์ และพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ไว้ ให้เป็นอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว





- อาคารแสดงโครงกระดูกซากช้างโบราณ เทศบาลตำบลท่าช้าง ซากช้างโบราณถูกค้นพบจากบ่อทรายที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติทุกบ่อทรายจะมีสภาพชิ้นส่วนของซากแตกต่างกันไปแต่ละบ่อมีความลึกประมาณ20-40เมตร จากระดับดินเดิมจะพบซากสัตว์ต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะซากช้างโบราณยุคดึกดำบรรพ์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรธรณี สถาบันราชภัฎนครราชสีมาและต่างประเทศได้วินิจฉัยว่าเป็นซากช้างโบราณ กอมโฟเธอเรียม มีความสูงประมาณ2เมตร มีงวงสั่นกว่าช้างปัจจุบัน มีงาตรง 2 คู่ จากขากรรไกรบนและล่างเป็นช้างที่มีวิวัฒนาการมาจากช้างรุ่นแรก ๆ ดินแดนอียิปต์ ที่มีขนาดเท่าหมูใหญ่ที่มีชื่อ “โมริเธอเรียม” สำหรับที่พบที่ตำบลท่าช้างนี้ อายุตอนปลายของสมัยไมโอซีนตอนกลาง มีอายุราว13-15 ล้านปีก่อน ขณะนี้ชิ้นส่วนกระดูกช้างส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่อาคารแสดงโครงกระดูกซากช้างโบราณ ของเทศบาลตำบลท่าช้าง ข้างที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งกรมทรัพยากรธรณี ได้แจ้งว่าผลการตรวจซากดึกดำบรรพ์ จากบ่อทรายตำบลท่าช้าง ยืนยันว่าเป็นชิ้นส่วนของช้างที่สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว
ติดต่อเข้าชมอาคารแสดงโครงกระดูกซากช้างโบราณได้ที่ สำนักงานเทศบาลตำบลท่าช้าง หมายเลขโทรศัพท์ 0 4432 1422 ต่อ 13 ในวันและเวลาราชการ
                                               ก่อนเดินทางกลับ อพท.พาคณะสื่อมวลชน เดินทางไปชมฟาร์มเห็ดที่ใหญ่ที่สุดในอ.วังน้ำเขียว "วังน้ำเขียวฟาร์ม" ชมกิจกรรมการเพาะเห็ดนานาชนิด และที่สำคัญคือการเพาะเห็ดถั่งเช่าที่มีราคาแพงช็อปปิ้งสินค้าทางการเกษตร พร้อมจิบน้ำชาที่ทำมาจากเห็ดถั่งเช่า และสินค้าที่แนะนำของที่นี่อีกอย่างหนึ่งก็คือสมุนไพรน้ำมันนวดที่มีชื่อเสียง"วังว่าน"








 ขอขอบคุณ
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)ที่สนับสนุนการเดินทางในครั้งนี้
ลุงหนวด....รายงาน








ไม่มีความคิดเห็น