Breaking News

ผู้นำธุรกิจมั่นใจข้อเสนอสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (ABAC)ชี้แนวทางและโอกาสฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยชัดเจน

 กรุงเทพฯ 10 พฤศจิกายน 2565 – ผู้นำภาคเอกชนขานรับแนวทางเร่งฟื้นตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค จากการประชุมสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council - ABAC) ประชุมครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองฮาลอง ประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะประเด็นด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนซึ่งจะเปิดโอกาสใหม่ในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้อย่างชัดเจนในการประชุมประจำไตรมาสของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคเมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 3 ที่ประชุมได้สรุปข้อเสนอแนะ 5 ประเด็นหลักที่จะรวบรวมเสนอในการประชุมเอเปคปลายปีนี้ ได้แก่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Economic Integration) ที่เน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม, การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล (Digital), การเสริมสร้างแนวทางการปฏิบัติที่ยั่งยืนของ MSMEs (MSME and Inclusiveness),การส่งเสริมระบบอาหารที่ยั่งยืนและยืดหยุ่น การนำ BCG โมเดลมาปรับใช้ ตลอดจนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การลดคาร์บอน (Sustainability) และการดำเนินการตามมาตรการเศรษฐกิจมหภาค การคลัง และการเงิน เพื่อเร่งการฟื้นตัว (Finance and Economics)

ดร. กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ผลสรุปจากที่ประชุมเอแบคครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าภาคเอกชนทั่วเอเชียแปซิฟิกมีความเห็นไปในทางเดียวกันและมีแนวทางที่ชัดเจน คือ ต้องการเดินหน้าออกจากผลกระทบจากโรคระบาด COVID-19 และมุ่งเน้นการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยสามารถอยู่ร่วมกับโรคให้ได้เพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้โดยเร็ว แม้ว่าจะยังคงมีความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว“ความท้าทายสำคัญในอนาคต คือ ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจจะต้องเกิดขึ้น แต่จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าครั้งก่อนแน่นอน เพราะครั้งนี้เกิดจากภาวะเงินเฟ้อที่เป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันเท่านั้น แต่พื้นฐานทางเศรษฐกิจยังดี ไม่ต้องแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้างเช่นครั้งก่อน นอกจากนี้ การรวมตัวของภาคเอกชนที่มุ่งมั่นจะร่วมกันก้าวข้ามความท้าทายทางเศรษฐกิจ และการที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าข้อเสนอทั้ง 5 ข้อของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความยั่งยืน
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การส่งเสริม MSMEs จะเปิดโอกาสทางเศรฐกิจ รวมถึงการสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจให้กับภูมิภาคต่อไป” ดร. กอบศักดิ์ กล่าวนอกจากนี้ ภาคเอกชนยังมองว่า ความยั่งยืน จะเป็นประเด็นหลักที่จะสร้างโอกาสและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ดร.ชญาน์ จันทวสุ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานความยั่งยืนองค์กร บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ความยั่งยืน ไม่ได้เป็นเรื่องที่อยู่ไกล เป็นเรื่องที่เราต้องทำทันที สำหรับประเทศไทย ภาครัฐได้สนับสนุนเรื่อง BCG หรือ Bio-Circular-Green มาใช้ ถือเป็นโอกาสดีที่จะใช้จุดแข็งของประเทศ ภาคการเกษตรสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ 7-8% ของจีดีพี แต่ที่ผ่านมามีการเพิ่มมูลค่าค่อนข้างน้อย จึงยังมีโอกาสอีกมาก ส่วน circular economy
ซึ่งเราได้เริ่มทำแล้วถ้าขยายผลต่อไปจะเป็นประโยชน์มาก และเรื่องของ Green ประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายว่าจะเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และ Net zero ในปี 2065 เป้าหมายที่ชัดเจนเหล่านี้ถือเป็นโอกาสทั้งสิ้น”
แม้ว่าหลายองค์กรจะกังวลว่า การพัฒนา หรือการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่จะสร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ และเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กรได้มากกว่า ซึ่ง ดร.กอบศักดิ์กล่าวว่า มีการประมาณการว่าหากองค์กรต่างๆ ให้มาให้ความสนใจเรื่อง BCG มากขึ้น ประเทศไทยจะสามารถยกระดับ BCG จากปัจจุบันประมาณ 20% ของจีดีพีเป็น 25% ของจีดีพีได้ในอนาคต ในทางกลับกันหากองค์กรต่างๆ ไม่ลงทุนใน BCG แล้ว ในอนาคตองค์กรเหล่านี้และประเทศไทยจะมีต้นทุนมากกว่าประเทศอื่นๆ
ดร.ชญาน์ กล่าวเสริมว่า ความสำเร็จในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทำเป็นที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน เดินหน้าไปด้วยกัน องค์กรขนาดเล็กเองก็สนใจที่จะปรับเปลี่ยนและหันมาให้ความสำคัญกับ BCG มากขึ้น เป็นโอกาสที่องค์กรขนาดใหญ่
จะให้ความร่วมมือ ให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือ เพื่อช่วยให้องค์กรขนาดเล็กก้าวไปข้างหน้าได้ เพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ อันเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งหมด“ทุกฝ่ายต่างก็มองเห็นโอกาส แต่กฎเกณฑ์บางอย่างไม่เอื้อให้มีการปรับเปลี่ยนได้เร็ว จึงจำเป็นที่ภาคเอกชนต้องลงมือทำ และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนคือทั้ง 5 แนวทางที่สภา
ที่ปรึกษาธุรกิจของเอเปคได้นำเสนอในการประชุมนี้” ดร. กอบศักดิ์กล่าวสรุป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.abac2022.org

ไม่มีความคิดเห็น