Breaking News

Mintel : หลักคุณธรรมและจริยธรรมกำลังเป็นตัวขับเคลื่อนทิศทางความงามของสังคมไทยที่มีอิทธิพลมากที่สุดในขณะนี้ แต่ความแตกต่างของคนในแต่ละรุ่นกลับมีความเห็นที่สวนทางกัน

● ปัจจุบัน 'นักเคลื่อนไหวด้านความงาม' ได้กลายเป็นผู้บริโภคในกลุ่มความงามของไทยที่ใหญ่ที่สุด (41%)
● 50% ของผู้บริโภค มีแนวคิดไม่สนับสนุนแบรนด์ที่ขัดต่อหลักความเชื่อและจริยธรรมของพวกเขา
● กว่าหนึ่งในสาม (44%) จะออกมาต่อต้านแคมเปญด้านความงามที่พวกเขามองว่าไม่ถูกต้อง
● ในทางกลับกัน ‘กลุ่มคล้อยตาม’ คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปซึ่งมักให้ความสำคัญในด้านนี้น้อย โดยส่วนใหญ่ (54%) ได้รับอิทธิพลจากสมาชิกในครอบครัวที่อายุน้อยกว่า ในการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม
(กรุงเทพฯ ประเทศไทย ตุลาคม พ.ศ. 2565) ผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นในประเทศไทย กำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมความงาม ด้วยการเรียกร้องถึงความแตกต่าง เจตจำนง และความถูกต้องตามจริยธรรม แต่ความแตกต่างของคนต่างรุ่นนั้นกลับเพิ่มมากขึ้น อ้างอิงจากงานวิจัยล่าสุดของ Thai Beauty Consumers 2022 ของ Mintel
ข้อมูลจาก Mintel ระบุ 5 สิ่งสำคัญที่จะส่งผลต่อวิวัฒนาการของตลาดด้านความงามในประเทศไทย
เมื่ออิทธิพลในทั่วโลกปรากฏให้เห็นชัดขึ้น ความเห็นต่างทางด้านความคิดและวัฒนธรรมของคนต่างรุ่นได้สร้างความตึงเครียดในการแสดงออกระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่
ในขณะที่ผู้บริโภคกลุ่มรุ่นเก่ายังคงมีความคิดแบบเดิมในเรื่องความสวยความงาม ซึ่งต่างจากผู้บริโภคกลุ่มวัยรุ่นที่เริ่มเปลี่ยนความคิดเพื่อออกจากกฎเกณฑ์เดิมๆ และกล้าที่จะแสดงออกมากขึ้น โดยได้รับอิทธิพลจากข่าว และภาพยนตร์ต่างประเทศ ทำให้ในปัจจุบัน คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม และไม่กลัวที่จะท้าทายบรรทัดฐานทางสังคมแบบดั้งเดิม หรือแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ออนไลน์มากขึ้น
Mintel ระบุว่า กลุ่มผู้บริโภคที่มีจำนวนมากที่สุดคือ นักเคลื่อนไหวด้านความงาม อายุ 25 - 34 ปี โดยส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตเมือง กลุ่มนี้มีสัดส่วน 41% ของผู้บริโภคด้านความงามของไทย และจำนวนเกินครึ่งของผู้บริโภคกลุ่มนี้ (53%) กล่าวว่า การซื้อผลิตภัณฑ์ความงามจากแบรนด์ที่ทำตามหลักจรรยาบรรณเป็นสิ่งสำคัญ
นอกจากนี้นักเคลื่อนไหวด้านความงามยังให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่รับผิดชอบต่อสังคม โดยสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสาม คิดเป็น (44%) ยินดีที่จะออกมาเรียกร้อง ต่อต้าน ให้กับแคมเปญความงามที่ตนเองไม่ชอบ และอีก (50%) กล่าวว่า การหยุดสนับสนุนแบรนด์สินค้าที่ไม่สอดคล้องกับความเชื่อและค่านิยมของตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญ
ในทางกลับกัน กลุ่มผู้บริโภครุ่นเก่ายังคงมีมุมมองและค่านิยมแบบเดิม และใช้เวลานานกว่าในการเปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ เรื่องความงาม แม้ว่าบางคนได้เริ่มเปิดรับค่านิยมความงามในมุมมองใหม่ เจ้าของแบรนด์ต้องทำให้มั่นใจว่าพวกเขาไม่ได้กีดกันผู้บริโภคกลุ่มนี้ออกไป และหาทางโน้มน้าวผู้บริโภคโดยยังให้เกียรติ และรักษาฐานลูกค้าไว้ได้
Mintel ระบุว่า กลุ่มคนคล้อยตาม คิดเป็นสัดส่วน (15%) คือคนที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป พวกเขาไม่ได้มีความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือประเด็นทางสังคม แต่แบรนด์สามารถใช้โอกาสนี้ในการโน้มน้าวและส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางอ้อมในกิจกรรมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการซื้อผลิตภัณฑ์ความงาม
ผู้บริโภคกลุ่มคล้อยตาม สัดส่วน (94%) แสดงให้เห็นว่าไม่สนใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ความงามที่มีความใส่ใจและรับผิดชอบต่อสังคม และอีก 54% กล่าวว่า สมาชิกในครอบครัวซึ่งส่วนใหญ่คือกลุ่มผู้บริโภคอายุน้อยกว่ามีอิทธิพลมากต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของพวกเขา
คุณ สิริณา ปุปผชาติ นักวิเคราะห์ความงามและของใช้ส่วนตัว กล่าวถึงผลการวิจัยเรื่อง Thai Beauty Consumers 2022 ของ Mintel ว่า “ผู้บริโภควัยรุ่นชาวไทยเริ่มมีความต้องการเปลี่ยนแปลง โซเชียลมีเดียช่วยให้พวกเขากล้าพูด ท้าทายบรรทัดฐานทางสังคม และหาวิธีแสดงออกถึงตัวตนที่แท้จริงของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภครุ่นเก่ายังคงมีมุมมองและความต้องการแบบเดิมเกี่ยวกับแบรนด์ความงาม
ผู้บริโภควัยรุ่นชาวไทยที่เป็นกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางสังคมคือกลุ่มผู้บริโภคด้านความงามที่มีอิทธิพลอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม แบรนด์ความงามก็ควรที่จะรักษาความใส่ใจต่อผู้บริโภครุ่นเก่า และมองหนทางที่สมดุลในการดูแลกลุ่มผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มไปพร้อมกัน
“ทางแบรนด์สามารถเอาชนะความท้าทายนี้ด้วยการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อสิ่งที่ผู้บริโภครุ่นใหม่ให้ความสำคัญ และหาหนทางให้ผู้บริโภครุ่นเก่าสามารถมีบทบาทในความถูกต้องและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่างเช่น การรณรงค์เรื่องความงามแบบ Clean Beauty คลีน บิวตี้ เพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม สร้างโอกาสในการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างง่ายดายผ่านการบริจาค และประชาสัมพันธ์ถึงโครงการรักษาสิ่งแวดล้อมและโครงการ CSR ของแบรนด์”

ไม่มีความคิดเห็น